15 เรื่องต้องรู้เมื่อร่างกายมีอาการ “อักเสบ”

0

เนื่องจากมนุษย์ออฟฟิตมักมีเวลาดูแลตัวเองจำกัด ดังนั้น บางคนเมื่อมีอาการปวดๆ เมื่อยๆ ก็จะไปหาซื้อยาแก้อักเสบมาเป็นตัวช่วยแต่…

“ยาแก้อักเสบ”

คือยาปฏิชีวนะหรือไม่ช่วยลดไข้ได้หรือเปล่าต่างกับแก้ปวดอย่างไรใช้เป็นยาฆ่าเชื้อได้ใช่ไหม… ???

ถึงเวลาทำความเข้าใจก่อนที่จะใช้ยาชนิดนี้แบบผิดๆ จนก่อให้เกิดผลเสียกับร่างกายในระยะยาวได้แล้วนะครับ

ยาแก้อักเสบ

1.ความเจ็บป่วยพื้นฐานในชีวิตประจำวัน

มีสองประเภทคือความปวดและการอักเสบ เรามักซื้อยาพาราเซตามอลมากินเพื่อระงับความปวดและซื้อยาแก้อักเสบมากินเองเมื่อพบว่ามีอวัยะวะส่วนใดส่วนหนึ่งอักเสบ โดยหลายครั้งเราวินิจฉัยโรคด้วยตัวเองและบางครั้งเราก็ซื้อยาผิดประเภทจนเป็นโทษกันร่างกาย

2.มีกรณีการซื้อยาแก้อักเสบมากินมากมาย

ถูกนำมาโพสต์ในเว็บพันทิปเป็นวิทยาทาน ผู้เล่าเรื่องส่วนมากๆ ไม่ทราบว่าตนแพ้ยาแก้อักเสบแต่เข้าใจเองว่ากินแล้วหายผลลัพธ์คือ ตัวบวมท้องเสียหรืออาเจียนบ้างหนักที่สุดคือการแอดมินเข้าโรงพยาบาลเหบ่านี้เป็นจ้อควรระวังเมื่อคิดจะซื้อยากินเองแม้ว่ามันจะเป็นยาที่เราคุ้นเคยมากชนิดหนึ่งก็ตาม

3.เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย

การอักเสบก็เกิดขึ้นได้โดยนับเป็นปฎิกิริยสทางภูมิคุ้มกันซึ่งร่างกายจะสร้าวภาวะการอักเสยเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการซ่อมแซมตัวเอง

4.เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ของร่างกาย

ที่จะทำงานปกป้องตัวเองตามธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นการทำให้สิ่งแปลกปลอมเจือจางบางครั้งก็เป็นการกำจัดเนื้อเยื่อที่เสียหายหรือตายลงพร้อมๆ กับการซ่อมแซมตัวเองไปด้วยผลที่มาคู่กันคือเราตะรู้สึกเจ็บปวดและอาจเกิดอันตรายมากขึ้นหากไม่ระงับอาการอักเสบหรือติดเชื้อที่เกิดขึ้นซึ่งการอักเสบที่ติดเชื้อโดยมากจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย

5.การอักเสบมีทั้งแบบเฉียบพลัน

เช่น การที่เรามีแผลซึ่งจะทำให้เกิดอาการบวมแดงเจ็บปวดหรืออาจมีไข้ แต่สามารถหายได้เองภายในไม่กี่วันเรื่อยไปถึงการอักเสบแบบเรื้อรังหรือมีการติดเชื้อร่วมด้วยโดยเชื้อก่อโรคเหล่านี้มีความรุนแรงต่ำ แต่จะติดเชื้อนานเช่นไซนัสอักเสบเรื้อรังที่ทำให้อ่อนเพลียปวดหูและความสามารถในการได้กลิ่นลดลงบางกรณีอาจต้องผ่าตัดเป็นต้น

6.ยาแก้อักเสบตัวแรกจองโลกคือเพนนิสิลิน

คิดค้นขึ้นจากความยังเอิญของ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง ที่ทดลองเรื่องแบคทีเรีย สเตปฟิโลคอกคัส (สาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือด) แต่วันหนึ่งเขาลืมปิดฝาจึงทำให้เกิดราเพนนิซิลเลียมขึ้นและพบว่าราชนิดนี้สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้ จากนั้นจึงมียาแก้อักเสบเกิดขึ้นและยังใช้ได้ผลดีอีกด้วย

7.ในชีวิตประจำวันเราสามารถเกิดการอักเสบง่ายๆ ได้เช่นกัน

ไม่ว่าจะเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบจากการใช้กล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งมากเกินไป หรือเกิดอุบัติเหตุ และเรามักกินยาแก้อักเสบ(NSAIDs)เพื่อรักษา โดยยานี้มักนำมารักษาไข้รวมทั้งอาการปวดหัวปวดฟัน ปวดประจำเดือน และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อด้วย ซึ่งมีทั้งแบบกินและแบบทา

8.NSAID

ย่อมาจากคำว่า Nonsteroidal Anti-inflammatory Drug หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ซึ่งยาที่เราคุ้นเคยกันดีคือแอสไพลินทั้งนี้ใช่ว่าทุกคนจะตอบสนอวกับยาได้ดีและที่แน่ๆ ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารหลอดเลือดหัวใจตีบโรคหัวใจวายและโรคตับควรเลี่ยงยาตัวนี้เด็ดขาด

9.หากต้องการกินยาแก้อักเสบควรปรึกษาแพทย์

หรือเภสัชกรทุกครั้งโดยแจ้งว่าแพ้ยาอะไรหากทราบหรือนำยาชนิดนั้นไปแสดงด้วยจะดีมากทั้งนี้ยาแก้อักเสบมักทำให้ระคายเคืองในกระเพาะและทาวเดินอาหาร ดังนั้น หาดต้องกินยาชนิดนี้ควรกินหลังอาหารทันทีและดื่มนำ้ตามมากๆด้วย

10.หลายครั้งเรามักเข้าใจผิดกับการซื้อยากินเอง

อย่างเช่นเมื่อเจ็บคอ จะเข้าใจว่าคอมีการอักเสบจึงกินยาแก้อักเสบแต่อาการเจ็บคออาจมีสาเหตุจากการติดเชื้อควรรักษาด้วยการฆ่าเขื้อที่จะทำลายเชื้อแบคทีเรียและทำให้อาการเจ็บหายไปหรือบางกรณีที่มีการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแล้วกินยาแก้ปวดก็อาจเป็นการรักษาไม่ตรงจุด ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนซื้อยามากินเองเสมอ

11.ยาแก้อักเสบเป็นยาที่แก้อาการเท่านั้น

หากอาการดีขึ้นแล้วควรหยุดกินยาทันทีเพราะนอกจากตะระคายเคืองระบบทางเดินอาหารแล้วอาจมีผลต่อการไหลเวียนเลือดได้และอาจมีภาวะข้าวเคียงต่อความดันและภาวะไตวายหากได้รับปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานานๆ

12.มักมีความสับสนระหว่างยาปฏิชีวนะกับยาแก้อักเสบ

ในความเป็นจริงแล้วยาขนิดแรกเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสและไม่ข่วยลดการอักเสบแก้ปวดหรือลดไข้ ส่วนยาชนิดหลังไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียแต่เป็นยาที่ช่วยลดการอักเสบ ลดไข้ และบรรเทาปวด

13.คนส่วนใหญ่ใช้ยาปฏิชีวนะไม่เหมาะสม

กินมากไปและพร่ำเพรื่อจนเกิดอาการดื้อยาสิ่งที่น่ากังวลคือ ยาอาจไปทำลายแบคทีเรียที่ดีในทางเดินอาหารจึงทำให้เชื้อโรคอื่นๆ เข้ามาทำลายร่างกายและเกิดโรคที่รุนแรงได้ในภายหลัง

14.ห้ามนำยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์มาใช้เป็นยาแก้อักเสบ

แม้จะมีฤทธิ์ช่วยแก้อักเสบได้ เพราะมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายและหากกินในระยะยาวอาจทำให้กระดูกผุแผลหายช้ามีจ้ำเขียวขึ้นตามผิวหนังหน้าและตัวบวมหรือทำให้ต่อมหมวกไตฝ่อได้ สำหรับสาวๆ ที่เป็นสิวที่คิดจะหาทางออกง่ายๆ ด้วยยาประเภทนี้ระวังไว้ให้ดีนะ

15.เพื่ออายุที่ยืนยาวควรเลี่ยงการใช้ยาแก้อักเสบ

แต่ให้หันมากินอาหารที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงสารพิษต่างๆที่ อาจปะปนอยู่ในอาหารหรือน้ำดื่มรวมทั้งอาหารทอดที่ใช้น้ำมันที่มีความร้อนสูงและอาหารปิ้งย่างที่พบว่าสารพิษเกิดขึ้นได้ (จากการไหม้) ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายอักเสบได้หากเผชิญกับสารพิษสะสมตกค้าง

รู้แบบนี้แล้วเมื่อเกิด “อาการอักเสบ” เฮียขอให้พิจารณาให้ดีก่อนที่จะไปซื้อยาแก้อักเสบมากิน หากมีอาการปวดมากๆ ให้ไปปรึกษาแพทย์ ประกันสังคมเราก็มีเฮียอยากใช้สิทธิ์กันครับ อีกอย่างเมื่อมีอาการป่วยอะไรอย่าวินิจฉัยโรคด้วยตัวเองเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นจากเรื่องเล็กอาจกลายเป็นใหญ่ได้ไม่รู้ตัวนะครับ!

ที่มา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *