ปัจจุบัน ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI ได้ถูกนำมาใช้ในแวดวงธุรกิจ และอุตสาหกรรมมากมาย หลากหลายประเภท ไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมทางการแพทย์ โดย AI จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา และเติมเต็มอุตสาหกรรม Healthcare ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกมิติ โดยเฉพาะการจัดการด้านข้อมูล
5 เทรนด์ AI Healthcare ที่มาแรงและน่าจับตามอง โดย ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS
1. Robot Assisted Surgery หรือหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด
– การศึกษาชี้ว่า การผ่านตัดด้วย AI-assisted Robotic สามารถลดการสูญเสียเลือดได้ 20% ลดระยะเวลาผ่าตัดได้ 15% และส่งผลให้ผู้ป่วยมีระยะเวลาในการพักฟื้นที่สั้นลง (เร็วขึ้น) 20%
2. Virtual Nursing Assistants หรือผู้ช่วยพยาบาลเสมือนจริง
– AI มาใช้ในงานบริการและดูแลผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถสอบถามข้อมูล หรือข้อสงสัยต่างๆ ด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพได้ตลอด 24 ชั่วโมง
3. AI for Diagnostics หรือ AI ช่วยวินิจฉัยโรค
– AI วินิจฉัยโรคกับชีวิตประจำวัน : อยู่ในรูปแบบของ Wearable Medical Device อย่าง Smartwatch ที่ช่วยบันทึกข้อมูลสุขภาพตั้งแต่เช่น การดื่มน้ำ การพักผ่อน การออกกำลังกาย ความดันโลหิต ชีพจร ซึ่งสามารถต่อยอดไปวิเคราะห์โรคที่จะเกิดในอนาคตได้
– AI กับการวินิจฉัยโรคมะเร็ง : การใช้ AI ในการวิเคราะห์ภาพรังสีเอ็กซเรย์ และแมมโมแกรม ทำให้การตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะเริ่มต้นมีความแมนยำสูงถึง 90-100% ในขณะที่การวินิจฉัยจากมนุษย์ทำได้เพียง 87%
– AI กับการวินิจฉัยโรคทางพยาธิวิทยา : AI เข้ามาช่วยแพทย์ในการตรวจความผิดปกติของเซลล์เนื้องอกได้รวดเร็วและแม่นยำ โดยนักวิจัยจาก Harvard Medical School ได้สร้างอัลกอริทึม ที่มีความแม่นยำถึง 92% และหากทำงานร่วมกับมนุษย์จะแม่นถึง 99.5%
– AI กับการวินิจฉัยโรคปอด : AI มาเป็นตัวช่วยในการคัดกรอง การวิเคราะห์ และการวินิจฉัย พร้อมระบุตำแหน่งภาวะความผิดปกติของปอด โดยเมื่อทำงานร่วมกับแพทย์ระบบทางเดินหายใจ พบว่าสามารถวินิจฉัยได้แม่นยำมากถึง 2 เท่า
4. AI in Drug Discovery หรือการใช้ AI ในการค้นคว้าและพัฒนายารักษาโรค
– การเข้ามาของเทคโนโลยี AI จะเข้ามาช่วยเร่งให้กระบวนการค้นคว้ายาใหม่เกิดขึ้นได้เร็วขึ้น และมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น โดยอาจร่นระยะเวลาเหลือเพียง 1-2 ปี
5. Hospital Workflow Management หรือการจัดการระบบงานต่างๆ ของโรงพยาบาล (ให้มีระเบียบ แบบแผน เป็นขั้นเป็นตอน อย่างไหลลื่นและรวดเร็ว)
– การศึกษาชี้ว่า 1 ใน 2 ของบุคลากรทางการแพทย์ที่ Burnout เป็นผลมาจากการต้องใช้เวลา 26-41% ของเวลางานไปกับงานด้านเอกสาร
– การนำ AI เพื่อใช้เป็นผู้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการจัดการงานต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดูแล ผู้ป่วย อาทิ งานด้านเอกสารและเวชระเบียน หรืองาน Administrative Workflow ที่ต้องทำซ้ำๆ
จะเห็นได้ว่า AI เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรมสุขภาพ ช่วยแก้ปัญหา และเติมเต็มอุตสาหกรรม Healthcare ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกมิติ นำไปสู่การการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน