เมื่อยล้าคอ บ่า ไหล่ เหนื่อยง่ายอยู่หรือเปล่า? รู้จัก “วิตามินบี 1” อีกทางเลือกสุดเวิร์คของคนเป็นออฟฟิศซินโดรม

0

office-syndrome-3

เราคงเคยได้ยินกันมาว่า นั่งนานๆ อาจทำเราเสี่ยงตายง่ายขึ้น!

แน่นอน มีผลงานวิจัยจากหลายร้อยชิ้นยืนยันความจริงข้อนี้  ไม่ว่าจะนั่งทำงาน นั่งขับรถ หรือนั่งเฉยๆ บนโซฟา ล้วนแล้วแต่เป็นที่มาของโรคร้ายแรงต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอ้วน หรือโรคทางระบบประสาท แต่งานวิจัยของ University of Glasgow ที่ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลมากกว่า 400,000 คน จากประชากรช่วงวัยกลางคน เปิดเผยถึงสิ่งที่ขัดแย้งออกไปว่า เราจะไม่เสี่ยงตายขนาดนั้นหรอก ถ้าเราแข็งแรงมากพอ โดยงานวิจัยนี้ ได้นิยามคำว่า “แข็งแรง” คือการมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ลองดูผลการศึกษานี้ดูสิ

คนที่มีกล้ามเนื้อส่วนมือและปลายแขนอ่อนแอ มีความเสี่ยงเสียชีวิตมากกว่า 31% เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ 21% มะเร็งอีก 14% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มคนที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรงมากกว่า

เรื่องของกล้ามเนื้อ อาการเหนื่อยล้ากับคนวัยทำงาน

ถ้าเราพูดถึง “ออฟฟิศซินโดรม” หลายคนน่าจะมองเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น คนทำงานมักใช้กล้ามเนื้อจุดเดิมค้างๆ ซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยไม่ได้พักกล้ามเนื้อเลย จนเกิดอาการตึงปวดร้าวกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่และหลัง ซึ่งอาการเหล่านี้นั้นนำไปสู่ความเหนื่อยล้าสะสมโดยที่เราไม่รู้ตัว แถมส่วนใหญ่ปล่อยไว้จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังส่งผลกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทางแก้แรกๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแนะนำให้ทำก็คือการออกกำลังกาย

มีอะไรที่ง่ายกว่าออกกำลังกายหรือเปล่า

“ไม่มีเวลาอะแก งานเยอะ เลิกงานก็เหนื่อยแล้ว อยากพักมากกว่า” 

และนี่คือข้ออ้างของคนทำงานที่ได้ยินบ่อยสุดเมื่อพูดว่า ต้องไปออกกำลังกาย

office-syndrome-2

เอาล่ะ! ถ้าเพื่อนๆ คือคนที่ไม่มีเวลาจะทำมันเลย แต่ต้องการกล้ามเนื้อที่แข็งแรงพอที่จะต่อสู้กับการนั่งนานๆ หรือว่าอาการเหนื่อยล้าก็ต้องใช้ทางเลือกอื่นที่จะช่วยแก้ปัญหาแทนอย่างที่ประเทศญี่ปุ่นตอนนี้ มีการทาน วิตามินบี 1 ที่คนทำงานในญี่ปุ่นฮิตกินกันมาก เป็นวิตามินที่ช่วยบรรเทาอาการความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อได้โดยไม่ต้องกินยา

office-syndrome-4

เพราะอะไร “วิตามินบี 1” ถึงช่วยลดความเหนื่อยล้าได้?

เริ่มต้นมาจากกล้ามเนื้อของเราที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นส่วนที่ต้องการพลังงานมากที่สุด ซึ่งพลังงานดังกล่าวนั้นมีชื่อเรียกว่า Adenosine Trisphosphate หรือ ATP โดยได้มาจากการทำงานของวิตามินบี 1 เป็นตัวช่วยสำคัญ

เรื่องควรรู้เมื่อร่างกายขาด ATP ที่มาจากการย่อยสลายโดยใช้วิตามินบี 1

  • ไม่มีพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ
  • อ่อนเพลียง่ายขึ้น
  • กล้ามเนื้อตามร่างกายตึงง่ายขึ้น
  • ความจำแย่ลง

ผลกระทบแต่ละข้อเรียกได้ว่าโดนวิถีชีวิตมนุษย์ออฟฟิศแบบเต็มๆ เลยก็ว่าได้!

ทำไมต้องเลือกวิตามินบี 1 จากผลิตภัณฑ์อาหารเสริม?

เหตุที่เราควรเลือกผลิตภัณฑ์อาหารเสริมวิตามินบี 1 เพิ่มเติม เพราะโดยทั่วไปวิตามินบี 1 นั้น ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องมาจากการทานอาหารเท่านั้น อีกทั้งวิตามินบี 1 นั้นเป็นวิตามินชนิดละลายในน้ำ จะอยู่ในร่างกายได้ไม่นานและถูกขับออกทางปัสสาวะในปริมาณมาก ทำให้ร่างกายเก็บสะสมวิตามินชนิดนี้ได้น้อย (นั่นเป็นเหตุผลด้วยว่า วิตามินบี 1 จึงเป็นวิตามินที่ร่างกายมักขาดบ่อยๆ)

ข้อควรรู้: หากเรากินอาหาร เช่น หอยต่างๆ อาหารดิบ เหล่านี้จะไปทำลายวิตามินบี 1 ในร่างกายอีกด้วย

วิตามินบี 1 มีวางจำหน่ายทั่วไปมานานแล้ว แต่ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ จึงเป็นที่มาของงานวิจัยพัฒนาเพื่อสังเคราะห์อนุพันธ์ตัวใหม่ของวิตามินบี 1 ซึ่งเกี่ยวกับการประเมินการดูดซึม โดยศาสตราจารย์อิโตงาวะ โยชิโนริ (Itokawa Yoshinori) จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ได้ค้นพบว่า วิตามินบี 1 ตัวนี้สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีกว่าวิตามินบี 1 ทั่วไปถึง 7 เท่า และสารตัวนี้สามารถเข้าไปออกฤทธิ์ที่กล้ามเนื้อได้ดีกว่าวิตามินบี 1 ทั่วไปอีกด้วย

office-syndrome-1

และยังพบความเข้มของเลือดสมบูรณ์มากที่สุดในกลุ่มของวิตามินบี ซึ่งนั่นหมายถึงการลดความเสี่ยงเรื่องของภาวะโลหิตจาง ความอ่อนเพลียต่างๆ ช่วยฟื้นพลังงานให้ร่างกาย จากงานวิจัยเกี่ยวกับการประเมินการดูดซึมโดยเซลล์เม็ดเลือด

ทั้งหมดนี้จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมคนที่อยากมีกล้ามเนื้อแข็งแรง หรือกำลังเผชิญกับภาวะออฟฟิศซินโดรม จึงควรให้ “วิตามินบี 1″ เป็นทางเลือกที่เวิร์กในการรักษาสุขภาพ

ครั้งต่อไปที่เพื่อนๆ รู้สึกปวด คอ บ่า ไหล่ เหนื่อยล้ามากกว่าปกติ อย่าลืมมองหา… วิตามินบี 1! อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิตามินบี 1 ได้ที่ www.วิตามินบี.net


 

อ้างอิง:
  • Sitting All Day Isn’t as Bad for You if You’re Fit โดย ALICE PARK, Time.com (http://time.com/5289025/exercise-sitting-strength/)
  • Clinical effects of VB-11 tablets on asthenopia, stiffness in shoulders, lumbago, etc.  โดย Jinichiro Hiramaya และคณะ
  • EFFECT OF THIAMINE ON SEROTONIN OXIDATION IN MAGNESIUM-DEFICIENT RATS โดย Yoshinori ITOKAWA และคณะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *