รวม 5 แหล่งโพรไบโอติกสูง หาทานง่าย ไม่ยุ่งยาก

0

โพรไบโอติก (Probiotics) กลายมาเป็นหนึ่งในทางเลือกสุขภาพที่เหมาะสำหรับคนยุคนี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคลำไส้แปรปรวน ท้องอืด อาหารไม่ย่อย รวมถึงยังได้รับการแนะนำจากแพทย์ว่าเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการลองโควิดได้อีกด้วย เพราะจุลินทรีย์จิ๋วเหล่านี้จะช่วยไปปรับสมดุลลำไส้ ลดปริมาณเชื้อก่อโรค รวมถึงเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายอีกด้วย

เราสามารถนำเอาจุลินทรีย์ตัวจิ๋วเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายได้โดยการรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกอยู่ โดยส่วนมากจะเป็นของที่ผ่านการหมักดอง และนี่คือ 5 แหล่งอาหารที่มีโพรไบโอติกสูง และหาทานได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก

1. โยเกิร์ตและนมเปรี้ยว

โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวเป็นแหล่งอาหารชั้นดีที่อุดมไปด้วยโพรไบโอติก แถมยังหาซื้อได้ง่าย รับประทานง่าย และที่สำคัญมีให้โพรไบโอติกให้เลือกหลากหลายสายพันธุ์ แนะนำว่าควรเลือกโยเกิร์ตที่มีโพรไบโอติกชนิดบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium), บิฟิโดแบคทีเรียม อะนิมอลิส (Bifidobacterium animalis DN173010), แล็กโทบาซิลลัส คาเซอิ (Lactobacillus casei), แล็กโทบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส (Lactobacillus acidophilus) ที่จะช่วยเรื่องการปรับสมดุลลำไส้และระบบขับถ่ายได้ดี

ส่วนนมเปรี้ยวก็เป็นอีกแหล่งอาหารที่มีโพรไบโอติกเช่นเดียวกับโยเกิร์ต โดยควรเลือกนมเปรี้ยวที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์เท่านั้น เพราะหากเลือกนมเปรี้ยว UHT จะไม่ได้รับโพรไบโอติกอย่างเต็มที่ เพราะใช้ความร้อนสูงในการผลิต ทำให้จุลินทรีย์ตายหมด ที่สำคัญควรเลือกโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวที่มีไขมันต่ำ และน้ำตาลน้อย

2. ชาหมักคอมบูชา

เมื่อโพรไบโอติกได้รับความสนใจ ชาหมักคอมบูชาจึงได้รับความนิยมไปด้วยเช่นกัน เพราะเป็นอาหารสุขภาพชั้นดีที่อุดมไปด้วยโพรไบโอติก สารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะแก่การลดน้ำหนักอีกด้วย ทุกวันนี้จึงมีผลิตภัณฑ์ชาคอมบูชาให้เลือกมากมาย โดยเราต้องเลือกจากแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือและสะอาด ไร้สารเจือปน เพราะหากรับประทานแบบสุ่มสี่สุ่มห้า แทนที่จะเป็นประโยชน์ อาจจะเป็นผลเสียต่อร่างกาย เกิดอาการท้องเสีย อาหารเป็นพิษได้ง่าย

3. กิมจิ

อาหารหมักดองยอดฮิตของชาวเกาหลีอย่างกิมจิ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ต้องการเพิ่มโพรไบโอติกให้กับร่างกาย จากการศึกษาพบว่า ในกิมจิมีเชื้อจุลินทรีย์ในกลุ่ม Lactobacillus Sakei และ Plantarum ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกันได้ดี ส่วนข้อระวังของการบริโภคกิมจิคือควรเลือกจากแหล่งที่สะอาด และน่าเชื่อถือ เพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนและก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้

4. ชีส

ชีสบางชนิดมีโพรไบโอติก เช่น เชดด้าชีส มอสซาเรลล่าชีส  เกาด้าชีส และคอทเทจชีส ซึ่งมีข้อดีตรงที่เราสามารถบริโภคชีสเหล่านี้ได้ในหลากหลายเมนู หารับประทานได้ง่าย

5. อาหารเสริม

อาหารที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นเป็นแหล่งโพรไบโอติกที่ดีและหารับประทานได้ง่ายก็จริง แต่มีบางคนที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเหล่านั้นได้อย่างต่อเนื่อง อาจมีสาเหตุจากสุขภาพส่วนตัว หรือความชื่นชอบ ทำให้การเลือกรับประทานอาหารเสริมที่สกัดมาเฉพาะโพรไบโอติกตอบโจทย์มากกว่า

โดยเราขอแนะนำ ผลิตภัณฑ์ Probi LP อาหารเสริมจุลินทรีย์โพรไบโอติกชนิดแคปซูล ที่แต่ละแคปซูลประกอบไปด้วยจุลินทรีย์โพรไบโอติก Lactobacillus Plantarum สายพันธุ์ 299V จำนวนกว่า 10 พันล้านตัว ซึ่งมีส่วนช่วยในการปรับสมดุลลำไส้ เพียงทานวันละ 1 แคปซูลเท่านั้น 

สามารถซื้อผลิตภัณฑ์ Probi LP อาหารเสริมจุลินทรีย์โพรไบโอติกชนิดแคปซูล ได้ทางออนไลน์ที่ Line OA : Hirushop และ Konvy

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *