หากเป็นการผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารหลังจากโรงพยาบาลสามารถกินอาหารได้ตามปกติ แต่หากมีการผ่าตัดลำไส้หรือช่องท้องอาจต้องค่อยๆปรับเปลี่ยนอาหารจากเดิมที่ให้งดอาหาร จิบน้ำเปล่า เปลี่ยนมาเป็นซุปใส อาหารเหลวใสไม่มีกากใย อาหารอ่อนจนสามารถกินอาหารได้ตามปกติ ทั้งนี้ขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์
อย่างไรก็ดี ก่อนที่เราจะดูว่าอาหารแบบไหนที่คนที่เพิ่งผ่าตัดมาควรเลือกทาน มาดามมีข้อแนะนำ TIPS ดูแลรอยแผลเป็นหลังการผ่าตัด เพื่อเป็นแนวทางการดูแลรอยแผลเป็นหลังการผ่าตัดค่ะ โดยเฉพาะการเลือกผลิตภัณฑ์ที่มี Glycosaminoglycans หรือ MPS ที่ช่วยดูแลรอยแผลเป็น อย่าง Hiruscar Silicone Pro เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ดูแลรอยแผลเป็นจากการผ่าตัด ที่ผ่านการทดสอบทางคลินิค คงความชุ่มชื้นของผิว มีส่วนผสมของ Vitamin C และ Vitamin E ที่จะทำให้รอยแผลดำๆ จางลง
สำหรับผู้ป่วยที่สามารถกลับมากินอาหารได้ตามปกติ ควรเน้นกินอาหารให้ได้รับพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเพื่อฟื้นฟูร่างกายช่วยให้บาดแผลหายเร็ว ดังนี้
กินอาหารเพิ่มขึ้น
เพื่อให้ได้รับพลังงานมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐานก่อนผ่าตัด เพราะหากผู้ป่วยมีพลังงานสำรองในร่างกายไม่เพียงพอและมีภาวะขาดสารอาหาร เมื่อต้องพบภาวการณ์เผาผลาญที่เพิ่มขึ้นภายหลังการผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดใหญ่อาจมีผลให้แผลผ่าตัดสมานตัวช้าและเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้
British journal of Nursing แนะนำพลังงานจากอาหารที่ผู้ป่วยหลังผ่าตัดควรได้รับใน 1 วันคือ 30-35 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักตัว1กิโลกรัม ขณะที่ในสภาวะปกติร่างกายต้องการอาหาร 25 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักตัว1กิโลกรัม
เพิ่มโปรตีนคุณภาพ
อาหารที่มีโปรตีนสูงช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อทีถูกทำลายช่วยให้แผลหายเร็วโดยโปรตีนคุณภาพดีคือโปรตีนที่มีกรดแอมิโนจำเป็นครบถ้วน เช่น โปรตีนจากเนื้อปลา ทั้งนี้หากผู้ป่วยกินอาหารมังสวิรัตแนะนำให้กินโปรตีนจากธัญพืชแลถั่วต่างๆให้หลากหลาย ทั้งถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง เพื่อให้ร่างกายได้รับกรดแอมิโนจำเป็นครบถ้วน
หลังผ่าตัด ความต้องการโปรตีนจะเพิ่มขึ้นจากเดิมต้องการโปรตีน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5-3กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
เลือกไขมันดี
กินข้าว แป้งให้เพียงพอ ไขมันดี ได้แก่ กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวและหลากหลายให้พลังงานสูงช่วยป้องกันร่างกายสลายโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้พลังงานใช้สร้างและซ่อมแซมเยื้อหุ้มเซลล์ช่วยให้แผลสมานเร็ว
ไขมันดีพบได้ในน้ำมันมะกรอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันงา ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง นอกจากนี้กรดไขมันโอเมก้า-3จากปลาทะเลยังมีผลช่วยลดการอักเสบและช่วยรักษาแผลอีกด้วย
ส่วนอาหารประเภทข้าว แป้ง เช่น ข้าวไม่ขัดขาว ขนมปังโฮลวีต เผือก มันเทศ ผักผลไม้ต่างๆมีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย กินเพียงพอช่วยป้องกันร่างกายดึงโปรตีนมาใช้เป็นพลังงาน ทำให้โปรตีนสามารถซ่อมแซมเนื้อเยื่อและรักษาแผลได้เต็มที่
สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน…
ไม่ควรจำกัดอาหารเพื่อลดน้ำหนักจนกว่าแผลผ่าตัดจะหาย ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักน้อยควรกินเพิ่มขึ้นให้น้ำหนักกลับมาอยู่ในระดับปกติ เพื่อให้มั่นใจว่าร่างกายจะได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอในการฟื้นฟูร่างกาย
เสริมวิตามินจากธรรมชาติ วิตามินซี เอ ธาตุสังกะสีและธาตุเหล็ก ล้วนมีส่วนช่วยให้แผลหายไว
โดยวิตามินซีจำเป็นต่อการสร้างคอลลาเจน (Collagen)โปรตีนสำคัญที่ใช้สร้างผิวหนังรักษาบาดแผลรวมทั้งเป็นส่วนประกอบสำคัญของหลอดเลือด เอ็นและกระดูก วิตามินซีพบมากในผลไม้ เช่น ฝรั่ง ลิ้นจี่ มะละกอ ส้ม
วิตามินเอมีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างคอลลาเจน หากขาดอาจทำให้แผลติดเชื้อ หายช้า แหล่งของวิตามินเอ ได้แก่ ปลา ผักใบเขียว แตงโม มะละกอ
สังกะสีมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีนและคอลลาเจนช่วยผลิตเซลล์ผิวใหม่และสมานบาดแผลพบมากในปลาและอาหารทะเล
ธาตุเหล็กเป็นส่วนปนระกอบสำคัญของเฮโมโกลบินทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายรวมถึงบาดแผล อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ปลา คะน้า บรอกโคลีผักโขม ผักบุ้ง ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆนอกจากนี้สามารถเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กได้โดยกินร่วมกับอาหารที่มีวิตามินซี
ดื่มน้ำวันละ 6-8แก้ว น้ำเป็นส่วนแระกอบหลักของเลือด หากร่างกายขาดน้ำการไหลเวียนเลือดจะขาดประสิทธิภาพ ส่งผลให้ออกซิเจนและสารอาหารลำเลียงไปยังบาดแผลไม่เต็มที่ บาดแผลที่รอการซ่อมแซมจึงสมานตัวได้ช้า แนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 1 ลิตรครึ่ง
แล้วอย่าลืมดูแลตัวเองด้วยวิธีเหล่านี้กันนะ 🙂