“โรคนอนกรน” มหัตภัยร้าย 40% หยุดหายใจ เสี่ยงตายไม่รู้ตัว!

0

การนอนหลับเป็นกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายได้พักฟื้นจากความเหนื่อยล้า ดังนั้นหากเราสามารถนอนหลับได้ปกติก็จะมีสุขภาพที่ดี ในทางตรงกันข้ามหากใครที่มีปัญหาการนอน ก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันได้ การนอนหลับผิดปกติที่พบบ่อย คือ  “โรคนอนกรน

ที่น่ากลัวก็คือประมาณร้อยละ 40 ของผู้ป่วยทั้งหมดมักขยายขอบเขตของอาการไปสู่ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ…

“โรคนอนกรน”

สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ เนี้อเยื่อในลำคอมากเกินไปจากพันธุกรรมจนทำให้เกิดการสั่นในขณะนอนหลับ การอุดตันในทางเดินหายใจจากผลข้างเคียงของโรคภูมิแพ้และต่อมทอนซิลโต กล้ามเนื้อหย่อนลงไปจากอายุที่เพิ่มขึ้น โรคอ้วน การดื่มสุราหรือยาบางชนิดที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง การสูบบุหรี่ เป็นต้น โดยสามารถแบ่งการนอนกรนออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้

ThinkstockPhotos-493979806

การนอนกรนธรรมดา 

เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเวลานอนหลับสนิท กล้ามเนื้อจะคลายตัว รวมทั้งกล้ามเนื้อบริเวณช่องคอด้วย ทำให้ลิ้นและลิ้นไก่ ตกไปทางด้านหลัง ทำให้ทางเดินหายใจส่วนนี้ตีบแคบลง เวลาหายใจเข้าผ่านตำแหน่งที่แคบจะทำให้มีการสั่นสะเทือนของลิ้นไก่และเพดานอ่อนหรือโคนลิ้น ทำให้เกิดเสียงกรนขึ้น

แต่ไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญทั้งนี้สามารถรักษาได้โดยการควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ

หลีกเลี่ยงการนอนหงาย การดื่มแอลกอฮอล์ ยานอนหลับหรือยากล่อมประสาทก่อนนอน ส่วนการรักษาในทางการแพทย์ ได้แก่ การใช้คลื่นวิทยุความถี่สูง การใช้แสงเลเซอร์ การใช้เครื่อง Nasal CPAP

การนอนกรนที่เป็นอันตราย

เกิดจากการที่มีทางเดินหายใจแคบมากเวลานอนหลับ ทำให้มีเสียงกรนที่ไม่สม่ำเสมอ โดยมีเสียงที่ดังและค่อยสลับกันเป็นช่วงๆ และจะกรนดังขึ้นเรื่อยๆ จนมีช่วงหยุดกรนไปชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการหยุดหายใจที่ทำให้เกิดอันตรายเนื่องจากระดับออกซิเจนในเลือดแดงจะลดต่ำลง จนอาจก่อให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ปอด หัวใจ และสมอง

หากว่าไม่มีลมผ่านจมูกหรือปากตั้งแต่ 10 วินาทีขึ้นไปจะเรียกว่า “การหยุดหายใจในขณะหลับ” ซึ่งอาการนี้จะถูกกระตุ้นให้ตื่นขึ้นโดยอาการสะดุ้งตื่น คล้ายการสำลักน้ำลายตนเองหรือการหายใจอย่างแรงเหมือนขาดอากาศ

แม้ไม่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตโดยเฉียบพลันแต่ส่งผลเรื้อรังต่อร่างกาย การนอนกรนนี้พบมากในวัยกลางคนและคนที่มีน้ำหนักตัวเกิน

ส่วนการรักษามีหลายวิธี อาทิ การลดน้ำหนัก, การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จนถึงวิธีทางการแพทย์อย่างการใช้เครื่องNasal CPAP, การใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรม ฯลฯ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *