ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary incontinence) คือ การสูญเสียการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อที่รองรับกระเพาะปัสสาวะมีแนวโน้มอ่อนตัวลง จึงนำไปสู่การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาจเป็นชั่วคราวหรือเรื้อรังขึ้นอยู่กับสาเหตุ แต่ทั้งนี้สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย
มีการศึกษาของ American Academy of Family Medicine พบว่า ผู้ใหญ่หลายล้านคนในสหรัฐอเมริกาประสบภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ พบได้ทั่วไปในผู้หญิงและคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี แต่ทุกคนสามารถได้รับผลกระทบจากเงื่อนไขนี้
สาเหตุของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้
- กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนแอลงอันเป็นผลมาจากอายุ
- ความเสียหายทางกายภาพต่อกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
- ต่อมลูกหมากโต
- โรคมะเร็ง
- ท้องผูก
- การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- นิ่วในไตหรือกระเพาะปัสสาวะ
- ต่อมลูกหมากอักเสบหรือการอักเสบของต่อมลูกหมาก
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ยาระงับประสาทและยารักษาโรคหัวใจ
ปัจจัยการดำเนินชีวิตบางอย่างยังสามารถทำให้เกิดอาการได้ ตัวอย่างเช่น การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือของเหลวอื่น ๆ อาจทำให้เพื่อนๆ ควบคุมกระเพาะปัสสาวะไม่ได้ชั่วคราวเช่นเดียวกัน
เมื่อไหร่ที่ต้องไปหาหมอ?
เพราะว่าอาการของโรคนั้นกระทบกับชีวตประจำวันค่อนข้างเยอะ ดังนั้น การได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและหารือเกี่ยวกับทางเลือกในการรักษากับแพทย์เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อมีอาการก็ควรไปพบแพทย์ทันทีครับ โดยเฉพาะอาการแบบนี้
- มีปัญหาในการพูดหรือเดิน
- รู้สึกเสียวซ่าในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
- การสูญเสียการมองเห็น
- สับสน
- สูญเสียสติ
- สูญเสียการควบคุมลำไส้
แนวทางรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้
แผนการรักษาที่แพทย์แนะนำจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ เงื่อนไขทางการแพทย์พื้นฐานอาจต้องใช้ยาการผ่าตัดหรือการรักษาอื่น ๆ เบื้องต้นอาจได้รับการแนะนำให้ออกกำลังกายบางอย่าง เช่น การออกกำลังกายอุ้งเชิงกรานหรือการฝึกกระเพาะปัสสาวะ สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยเพิ่มการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ โดยเพิ่มความสะดวกต่อการรักษาอาการเพิ่มเติม ดังนี้
- ปรับอาหารหรือปริมาณของเหลวที่กิน
- พยายามจัดโฟลว์ทางเดินไปห้องน้ำ หรืออยู่ที่ๆ สามารถเข้าห้องน้ำได้สะดวก
- ใช้ชุดชั้นในหรือแผ่นรองซับ
วิธีป้องกันภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
เราไม่สามารถป้องกันการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ทุกกรณี แต่มีขั้นตอนที่เพื่อนๆ สามารถทำได้เพื่อลดความเสี่ยงในการพัฒนาอาการ การใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีเป็นกุญแจสำคัญ ตัวอย่างเช่น
- รักษาน้ำหนัก
- ออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบ
- กินอาหารที่สมดุล
- จำกัดการบริโภคคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่