มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 1 ในสตรีจากหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก โดยในปี 2555 สถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ องค์การอนามัยโลก (GLOBOCAN) สำรวจพบผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมทั่วโลกปีละ1.67 ล้านคน เสียชีวิตถึง 522,000 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นภัยใกล้ตัวที่ผู้หญิงต้องระวังให้มาก!
กลุ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะพบในหญิงที่มีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดยยิ่งอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปพบในอัตราถึง 95 ต่อประชากรแสนราย ซึ่งถือว่าสูงกว่าภาพรวมของประเทศอย่างมาก
นอกจากนี้ หากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งชนิดอื่นๆ มีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน หรือเคยมีก้อนบริเวณเต้านมที่ผลการตรวจพบว่าผิดปกติ มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี และเคยรับการฉายรังสีบริเวณทรวงอก ก่อนอายุ 30 ปี ซึ่งหากเข้าเกณฑ์ลักษณะดังกล่าวก็จะให้เข้าตรวจฟรีตามโครงการก่อน จนครบจำนวน 84 คน
ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน และเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจเต้านมโดยบุคลากรทางการแพทย์และเครื่องเอกซเรย์เต้านมทุกปี หรือเข้ารับการตรวจทันทีหากพบความผิดปกติของเต้านม ได้แก่…
- มีก้อนที่เต้านม หรือรักแร้ รูปร่างหรือขนาดของเต้านมที่เปลี่ยนแปลงไป
- มีน้ำ เลือด หรือ น้ำเหลืองไหลออกมาจากหัวนมรูปร่าง
- ขนาดของหัวนมที่เปลี่ยนแปลงไปสี
- ผิวหนังบริเวณลานหัวนมที่เปลี่ยนไป เช่น รอยบุ๋ม รอยย่น อาการเจ็บผิดปกติที่เต้านม
- รักแร้ โดยเฉพาะเจ็บข้างเดียวผิวหนังของเต้านมที่เปลี่ยนแปลงไป
ภาวะอ้วนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม เนื่องจากเมื่อมีเนื้อเยื่อ และไขมันมาก จึงมีโอกาสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนขึ้นมาได้ นอกจากนี้ผลการสำรวจของกองทุนวิจัยมะเร็งโลก พบว่า กว่าร้อยละ48ของผู้หญิงไม่ตระหนักถึงอันตรายจากการที่ปล่อยให้ตัวเองอ้วนขึ้น และยังพบว่าผู้หญิงที่อ้วนขึ้นมีแนวโน้มเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4
การป้องกันตัวเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านมทำได้ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงอาหารที่มีสารปนเปื้อน อาหารปิ้ง ย่าง รมควัน และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดบุหรี่ลดความเครียดในชีวิตประจำวันหากจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนทดแทน ควรอยู่ในความควบคุมของแพทย์