ท่าบริหารเพื่อปรับสมดุลร่างกาย ต้านโรคร้ายได้ด้วยนะ!

0

เพื่อนๆ เคยป่วยบ่อยๆ พอไปหาหมอก็พบว่าไม่เจอสาเหตุอะไร แต่เป็น ๆ หาย ๆ รักษาโรคไม่หายขาด สำหรับคนที่ร่างกายแข็งแรงก็ไม่ได้หมายความว่าจะแข็งแรงตลอดไป โดยเฉพาะผู้ที่ต้องรับแรงกดดันจากการทำงานเป็นประจำ ควรระวังเป็นพิเศษ สาเหตุเหล่านี้มาจากการขาดพลังการฟื้นฟูร่างกาย จึงทำให้ระบบภายในเสียสมดุล ไม่แข็งแรง และเจ็บป่วยได้ง่ายนั่นเอง

posture_to_balance_the_body

ในบทความนี้มาดามมีเคล็ดลับดี ๆ จากผู้เชี่ยวชาญการแพทย์แผนจีน ซึ่งสืบทอดท่ากายบริหารมาจากสมัยราชวงศ์สุย โดยอาศัยพลังลมปราณ หรือ “ชี่” ของร่างกายในการบำบัดโรค ผ่านท่าออกกำลังกายที่รวบรวมไว้ในหนังสือ “61 ท่าบริหารมหัศจรรย์ ต้าน 50 โรคร้าย” จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์

มาถ่ายทอดความรู้ที่ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจกลไกการทำงานของร่างกาย และฟื้นฟูสุขภาพด้วยตนเอง อยู่ที่ไหนก็ทำได้ทุกที่ทุกเวลากับท่าบริหารเพื่อปรับสมดุลร่างกาย ต้านโรคร้ายได้ด้วยนะ

ท่าบริหารลมหายใจ

%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%83%e0%b8%88%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%88%e0%b8%a1%e0%b8%b9%e0%b8%81-%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a2

บางคนอาจคิดว่าเราหายใจอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ทำไมต้องฝึก แต่แท้จริงแล้วการฝึกหายใจให้ถูกวิธีจะช่วยเผาผลาญ “ชี่โรคซึ่งเป็นโทษออกมา” อีกทั้งยังช่วยนวดอวัยวะภายในไปพร้อมกันด้วย

ตัวอย่างเช่น พนักงานออฟฟิศที่มักปวดหัวไมเกรน  เราอยากเแนะนำให้ฝึก “ท่าหายใจเข้าและออกทางรูจมูก” โดยรวมพลังไว้ที่กระหม่อม ให้ชี่โรคระบายออกทางจุดกลางกระหม่อม

ส่วนผู้ที่แน่นหน้าอกให้ฝึก “ท่าหายใจเข้าทางจมูก หายใจออกทางปาก” โดยรวมพลังไว้ที่กลางอก ให้ชี่โรคระบายออกทางกึ่งกลางหน้าอก  และผู้ที่ปวดท้องบ่อย ๆ แนะนำให้ฝึก “ท่าหายใจเข้าทางจมูก หายใจออกทางปากจนท้องป่อง” โดยรวมพลังไว้ที่ท้อง ให้ชี่โรคระบายออกทางจุดที่อยู่ใต้สะดือ ซึ่งท่าบริหารลมหายใจที่เรายกมาฝากเหล่านี้ จะช่วยขับของเสียและรับของใหม่ตลอดเวลา ทำให้สุขภาพแข็งแรง

ท่าบริหารมือ

%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad

%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%b9%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad

ความเครียดและแรงกดดันต่าง ๆ ที่อัดอั้นอยู่ภายใน ระบายออกทางฝ่ามือได้ดีที่สุด เพียงแค่ขยับมือ หมุนข้อมือ สะบัดมือเล็กน้อย ก็ช่วยคลายความเครียดและลดแรงกดดันได้

นอกจากนี้ อาการมือเท้าชา ยังเป็นสัญญาณเตือนของร่างกายที่ช่วยให้เรารู้ว่าการไหลเวียนเลือดผิดปกติ เนื่องจากปลายประสาทตามมือและเท้าอยู่ห่างจากหัวใจ ทำให้ออกซิเจนและสารอาหารลำเลียงมาไม่ถึง จึงมักมีอาการปวดหลังและเอว เดินเหินไม่สะดวก สายตาพร่ามัว สมองเสื่อม เป็นต้น  อาการเหล่านี้มีวิธีแก้ไขง่ายมากคือ ให้ชูนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วทั้งสี่สลับกัน ซึ่งท่านี้ช่วยให้นิ้วทั้งห้าผลัดกันยืดตัว ทำให้มืออบอุ่น  สำหรับสตรีมีครรภ์ การบริหารท่านี้จะช่วยให้การไหลเวียนบริเวณมือเชื่อมโยงกับสายรกของเด็กในท้อง ทำให้ลูกน้อยในครรภ์ได้ออกกำลังกายไปด้วย

ท่าบริหารขา

%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%81%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b9%89%e0%b8%b2

เป็นที่ทราบกันว่า “ขา” เป็นอวัยวะที่อยู่ห่างจากหัวใจมากที่สุด เมื่อการไหลเวียนของเลือดไม่ดี อาการผิดปกติจะแสดงออกมาที่ขาก่อน เช่น ขาเย็น เมื่อย หรือชา ซึ่งแก้ไขได้โดยการนั่งยกเท้าขึ้นจากพื้น ทำข้างเดียวหรือ 2 ข้างพร้อมกันก็ได้ จากนั้นยกนิ้วหัวแม่เท้าขึ้น สลับกับการยกนิ้วเท้าทั้งสี่ แล้วกดนิ้วหัวแม่เท้าให้ต่ำลง วิธีนี้นอกจากจะช่วยแก้อาการเท้าเย็นแล้วยังช่วยแก้อาการแพ้ท้องได้อีกด้วย

ท่าบริหารใบหน้า

%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%94%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b8%b2

สำหรับคนวัยทำงานหรือนักเรียนที่ต้องใช้สายตามาก การฝึกท่าบริหารดวงตา หรือใช้มือนวดรอบดวงตา แล้วฝึกท่ามือทาบคิ้ว เป็นการบริหารหัวคิ้ว หนังตา และเส้นประสาทตาไปพร้อมกัน จะช่วยคลายความอ่อนล้าของดวงตา ป้องกันโรคตาแห้ง สายตาเสื่อม และโรคตาอื่น ๆ เริ่มจากหลับตาทั้ง 2 ข้าง ออกแรงบีบให้แน่นแล้วคลาย แต่ยังคงหลับตาอยู่ ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จะช่วยบริหารหัวคิ้วและประสาทตา  ส่วนท่ามือทาบคิ้ว ให้หลับตา ทาบฝ่ามือทั้ง 2 ข้างไว้ที่คิ้ว และขยับฝ่ามือขึ้นลงเพื่อนวดดวงตาและจุดต่าง ๆ

นอกจากนี้ ยังมีท่าบริหารเสริมความงามคือ ท่ายืดริมฝีปากบน  โดยยืดริมฝีปากบนลงด้านล่างให้มากที่สุด ค้างไว้สักครู่ แล้วปล่อยริมฝีปากกลับสู่ท่าเดิม ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จะช่วยบริหารใบหน้า จมูก และคิ้ว กระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่ใบหน้า ปรับรูปหน้า และลดอาการบวมของใบหน้าได้

ท่าบริหารไหล่และคอ

%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%9c%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a9%e0%b8%b0

ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนสมัยนี้มักใช้ชีวิตอยู่กับเทคโนโลยีเกือบตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ ซึ่งผลพวงที่ตามมาคืออาการปวดเมื่อยหรืออักเสบที่ไหล่ คอ เอว และหลัง

นอกจากนี้ บริเวณลำคอยังมีเส้นประสาทกระดูกคอที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของคอ ไหล่ และมือ ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งมีปัญหาจะส่งผลให้รู้สึกชาและปวด ท่าบริหารที่เราแนะนำนี้ เพียงใช้เวลาสั้น ๆ ในการฝึกท่าผงกศีรษะ โดยการยืนหลังตรง ก้มหน้าให้คางชิดอกมากที่สุด ค้างไว้สักครู่ แล้วเงยหน้ากลับสู่ท่าเดิม ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งเพื่อยืดกล้ามเนื้อคอด้านหลังและต่อมใต้สมอง ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะช่วยแก้ปวดเมื่อยคอแล้ว ยังกระตุ้นการเจริญเติบโต ป้องกันโรคอัลไซเมอร์และเสริมความจำได้อีกด้วย


เรื่องของสุขภาพไม่ควรปล่อยปละละเลย เพราะกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็อาจสายเกินไปได้ หากเพื่อนๆ อยากได้ท่าบริหารแบบเต็มๆ ใช้ได้กับทุกเพศทุกวัย ลองดูเพิ่มเติมได้กับหนังสือ “61 ท่าบริหารมหัศจรรย์ ต้าน 50 โรคร้าย” รวบรวมท่ากายบริหารต้านโรคร้ายทั้งหมด 61 ท่าพร้อมภาพประกอบที่ช่วยให้เข้าใจง่าย และปฏิบัติตามได้ทันที

61-%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a8%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a2%e0%b9%8c-%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%b2

โดยสามารถสั่งซื้อได้ที่ โทร. 0-2622-3000 กด 0 หรือ www.nanmeebooks.com, www.facebook.com/nanmeebooksfan พร้อมทั้งติดตามข่าวสารและหนังสือที่น่าสนใจอีกมากมายเพียง ADD LINE @nanmeebooks และ @nmbadult

เพิ่มเติมอีกนิด หากเพื่อนๆ คนไหนมีโรคประจำตัวหรือโรคร้ายแรงก็ยังคงต้องได้รับการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ต่อไป ไม่ควรหยุดรับการรักษาโดยพลการอย่างเด็ดขาด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *