“โรคกระดูกน่วม” ไม่อยากเสี่ยง โปรดฟังทางนี้!!

0

“โรคกระดูกน่วม” หรือในชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่ โรคกระดูกอ่อน โรคกระดูกนิ่ม หรือออสตีโอมาลาเชีย (Osteomalacia) นั่นเอง

เป็นภาวะที่กระดูกสูญเสียความแข็งแรงเนื่องจากมีปัญหาในกระบวนการสร้างและการฟอร์มรูปร่างของกระดูก โดยเซลล์กระดูกไม่สามารถนำแคลเซียมมาเสริมสร้างให้ความแข็งแรงกับมวลกระดูกได้อย่างเพียงพอ ทำให้กระดูกบางลง อ่อนตัวลงและเสียรูปร่าง

โรคกระดูกน่วมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระดูกโก่งผิดรูปโดยเฉพาะกระดูกขา และเกิดกระดูกหักได้ง่าย ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจกลายเป็นโรคกระดูกพรุนได้ ทั้งนี้โรคกระดูกน่วมต่างจากโรคกระดูกพรุนที่โรคกระดูกพรุนนั้นเกิดกับกระดูกที่ได้เจริญเติบโตสมบูรณ์แล้ว (กระดูกผู้ใหญ่โดยเฉพาะผู้สูงอายุ)

แต่ต่อมาเกิดความผิดปกติขึ้นจากสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้กระดูกมีปริมาณมวลกระดูกลดน้อยลงกว่าปกติ จึงเกิดเป็น “โรคกระดูกบางหรือโรคกระดูกพรุน” ขึ้น

Osteomalacia

อาการของโรคกระดูกน่วม ได้แก่ มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อย และไม่มีแรง ปวดที่กระดูก (มักพบที่กระดูกขา หรือกระดูกสะโพก)หลังค่อม และความสูงลดลง กล้ามเนื้อลีบ และกล้ามเนื้อโคนแขน ขาอ่อนกำลัง เดินเซ เนื่องจากการปวดและไม่มีแรง เมื่อกดที่บริเวณกระดูกจะปวดมาก

สาเหตุหลักของโรคกระดูกน่วมเกิดจากการขาดวิตามินดี

ฉะนั้นการป้องกันโรคนี้สามารถทำได้โดยการรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีเป็นส่วนประกอบ และการได้รับแสงอาทิตย์อ่อนๆ ในปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละวันสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกน่วมได้ โดยแสงอัลตร้าไวโอเลตชนิด บี จะกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์วิตามินดีที่ผิวหนัง

อย่างไรก็ตามการได้รับแสงแดดมากเกิน ไปอาจทำให้ผิวหนังถูกทำร้าย และเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งผิวหนังได้ นอกจากนี้ควรเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำ

โรคกระดูกน่วมสามารถรักษาได้และไม่เป็นเหตุให้เสียชีวิต แต่มีผลข้างเคียงที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตคือ กระดูกหักง่าย รวมถึงอาจรู้สึกเสียเซลฟ์จากการที่มีกระดูกผิดรูป ทั้งนี้ภายหลังเมื่อรักษาโรคกระดูกน่วมหายแล้วแต่กลับมาขาดวิตามินดีอีก ก็สามารถเกิดโรคกระดูกน่วมได้ใหม่อีก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *