ทำความรู้จักและเข้าใจ “ภาวะกล้ามเนื้อพร่อง”

0

“ภาวะกล้ามเนื้อพร่อง”

เป็นภาวะที่มีการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อรวมทั้งกำลังกล้ามเนื้อภาวะกล้ามเนื้อพร่องนี้พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น (การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและกำลังกล้ามเนื้อจะเด่นชัดเมื่ออายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป จะเกิดเร็วขึ้นเมื่อมีอายุ 60 ปีขึ้นไป)

Woman Rubbing Her Hands

สาเหตุของ “ภาวะกล้ามเนื้อพร่อง”

มาจากหลายปัจจัย ได้แก่ การไม่ได้ใช้งานกล้ามเนื้อ (นั่งๆ นอนๆ ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย) การเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ที่เกิดตามวัย การเกิดเซลล์ตายรวมถึงพันธุกรรม ส่วนปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะนี้คือ การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ รวมถึงการมีกิจกรรมทางกายที่ลดลง

“ภาวะกล้ามเนื้อพร่อง” นำมาซึ่งปัญหาสุขภาพหลายสิ่งอัน อาทิ การสูญเสียสมรรถภาพความสามารถทางกายไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เพิ่มโอกาสการหกล้ม เพิ่มโอกาสการเกิดกระดูกหักได้มากขึ้นปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ (รวมถึงส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ไม่มากก็น้อย) เป็นอุปสรรคขัดขวางการมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ

อาการที่บ่งว่าคุณหรือคนใกล้ชิดอาจเกิด “ภาวะกล้ามเนื้อพร่อง”ได้แก่ กำลังมือมีค่าต่ำกว่าปกติ อัตราเร็วในการเดินช้ากว่าปกติ รวมถึงมวลกล้ามเนื้อต่ำกว่าปกติ ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อสงสัยว่าอาจเกิดภาวะดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิฉัยอย่างละเอียด เพราะการวินิจฉัยที่ถูกต้องตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะช่วยให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพดี และนี่คือวิธีที่จะช่วยป้องกันและแก้ไขภาวะกล้ามเนื้อพร่อง นอกเหนือไปจากการใช้ยา

  1. การออกกำลังกายหรือการมีกิจกรรมทางกายช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและกำลังกล้ามเนื้อ ได้แก่ การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (การเดิน การปั่นจักรยาน การเต้นลีลาศ การรำไม้พลอง)และการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน (ตุ้มน้ำหนัก ยางยืด สปริง ถุงทราย)ควรออกกำลังกายทั้งสองประเภทอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน
  2. การรับประทานอาหารที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะกล้ามเนื้อพร่อง ได้แก่ อาหารประเภทโปรตีน กรดอะมิโน และวิตามินดีไม่ว่าจะเป็นโปรตีนจากเนื้อสัตว์ กรดอะมิโนที่พบมากในถั่วเหลือง ถั่วขาว เนื้อไก่สุก เมล็ดฟักทองและวิตามินดีจากปลาแซลมอน นมสด ไข่ น้ำมันพืช และการได้รับแสงแดดที่เพียงพอ

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *