“นิ่วในไต”ปล่อยไว้ไม่ดูแล ถึงตาย!

0

เมื่อพูดถึง “โรคนิ่ว” เชื่อว่าเป็นโรคที่แทบทุกคนต้องเคยได้ยินผ่านหูหรืออ่านผ่านตามาบ้างไม่มากก็น้อยเพราะเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากทั่วโลก อีกทั้งยังมีแนวโน้มผู้ป่วยจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยโรคนิ่วนั้นมีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือ นิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะสำหรับ “นิ่วในไต” ที่เราจะเจาะลึกถึงรายละเอียดนี้จัดอยู่ในประเภทหลัง

“นิ่วในไต” (Kidney stone/ Renal calculi)

เกิดได้จากมีการตกตะกอนของสารต่างๆในไตมากกว่าปกติ เมื่อนานเข้าจึงรวมตัวกันเป็นก้อนนิ่ว (สารก่อนิ่วได้แก่ แคลเซี่ยม ออกซาเลต ฟอสเฟต และกรดยูริก) ดังนั้นก้อนนิ่วจึงสามารถโตขึ้นได้เรื่อยๆเมื่อยังไม่มีการรักษา หรือเกิดได้ซ้ำอีกหลังการรักษา

Kidney stone (3)

ถ้าดูแลตัวเองได้ไม่ดีพอนิ่วในไตอาจเกิดกับไตเพียงข้างเดียวโดยโอกาสเกิดใกล้เคียงกันทั้งไตซ้ายและขวาหรือเกิดนิ่วพร้อมกันทั้งสองไต แต่ความรุนแรงของนิ่วในทั้งสองไตมักไม่เท่ากันขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของนิ่ว

สาเหตุของโรคนิ่วไตเกิดจากหลากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม เมตาบอลิซึม พันธุกรรม วิถีการดำเนินชีวิต และอุปนิสัยการกินอาหาร

กินอาหารมีสารที่ก่อการตกตะกอนเป็นนิ่วปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง, ดื่มน้ำน้อย, กลั้นปัสสาวะเสมอ, ชอบกินอาหารที่มีสารซาเลตสูง หรือกินวิตามินซีขนาดสูงๆ

Kidney stone (2)

ผู้ป่วยนิ่วในไตมักมีอาการปวดบริเวณเอวด้านหลังที่เป็นตำแหน่งของไต เวลาที่ก้อนนิ่วมันหลุดมาอยู่ในท่อไตจะปวดชนิดที่รุนแรงมาก เหงื่อตก เกิดเป็นพักๆ ปัสสาวะอาจมีเลือดหรือเป็นสีน้ำล้างเนื้อร่วมด้วย

หากนิ่วลงมาอุดบริเวณที่ท่อไตต่อกับกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการระคายเคืองเวลาปัสสาวะ อยากปัสสาวะ แต่ปัสสาวะขัด กะปริดกะปรอยหากปล่อยให้เป็นนิ่วไปนานๆ โดยไม่รักษา จะทำให้ไตบาดเจ็บเรื้อรัง ส่งผลให้ไตมีรูปร่างและทำงานผิดปกติมากขึ้น และนำไปสู่ภาวะไตวายในที่สุด

การป้องกันไม่ให้เกิดนิ่วในไตทำได้โดยดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบหมวดหมู่ในสัดส่วนและปริมาณที่เหมาะสม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดอาหารที่มีเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ อาหารหวานจัดเค็มจัด และอาหารที่มีกรดยูริกสูงหลีกเลี่ยงอาหารที่มีออกซาเลตสูง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *