โรคขนคุด (Keratosis pilaris)
เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายมีลักษณะรูขุมขนที่เป็นตุ่มแข็งนูนขึ้นมาบนผิว และมีเส้นขนแทงขึ้นมาใต้ผิวหนัง แต่ไม่ทะลุออกมา ให้สัมผัสขรุขระเมื่อลูบ แลดูเหมือนหนังไก่ ตุ่มที่เกิดขึ้นอาจมีสีเดียวกับผิว หรือมีสีชมพูไปจนถึงแดง มักพบบริเวณแผ่นหลัง และต้นแขนด้านนอก รวมถึงบริเวณต้นขา สีข้าง สะโพก น่อง หลายครั้งที่ขนคุดถูกเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสิว
โรคขนคุด (Keratosis pilarisหรือย่อว่า KP) พบได้สองลักษณะคือแบบที่ 1 เริ่มเป็นในเด็กเล็ก คือ…
- ก่อนอายุ 2 ขวบและอาการดีขึ้นก่อนเข้าสู่วัยรุ่น
- แบบที่ 2 เริ่มเป็นในวัยรุ่น และอาการดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางคนในโรคนี้ อาการจะหายไปเองเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ แต่มีส่วนหนึ่งที่อาการยังเป็นต่อไป
คนทั่วไปเป็นขนคุดกันเยอะมาก โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่น เพียงแต่ความรุนแรงอาจจะแตกต่างกันไป บางคนเป็นมากเห็นชัด บางคนเป็นเพียงเล็กน้อย โดยผิวลักษณะนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคขนคุดนั้นมีอยู่หลายประเภท
ตั้งแต่ Keratosis pilarisrubra คือ ขนคุดที่มีอาการอักเสบ แดง, alba คือขนคุดที่เป็นตุ่มแข็งขึ้นมาบนผิวหนังแต่ไม่ระคายเคือง, rubrafaceiiคือเป็นผื่นแดงบริเวณแก้ม ทั้งนี้มักพบโรคขนคุดในผู้ที่มีผิวแห้งมากกว่าผิวมัน หรือเป็นโรคภูมิแพ้ และอาการจะเป็นมากขึ้นในฤดูหนาวที่มีอาการเย็นและแห้ง
ตุ่มจากโรคขนคุดเหล่านี้ มักไม่มีอาการอื่น (เช่น คัน เจ็บ) แต่ก็มีบางรายที่มีการอักเสบ ซึ่งจะทำให้มีรอยแดงรอบรูขุมขน และมีอาการคันร่วมด้วย อย่างไรก็ตามโรคขนคุด ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพแต่อย่างใด แต่อาจทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปลักษณ์ และความสวยงาม
หลักในการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคขนคุด ได้แก่ การรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังด้วยการทาโลชันให้ความชุ่มชื้น การใช้สบู่อ่อนๆ และงดอาบน้ำอุ่น เพื่อลดโอกาสเกิดผิวแห้ง จึงลดการกำเริบของอาการหลีกเลี่ยงการบีบ เค้น แกะ หรือเกา เพราะนอกจากไม่ช่วยให้ตุ่มหาย ยังมีโอกาสติดเชื้อ เป็นแผล เกิดรอยดำ รอยด่าง สีผิวไม่สม่ำเสมอตามมาแม้ว่าเราไม่สามารถป้องกันโรคขนคุดได้เนื่องจากการเกิดโรคขนคุด มีพื้นฐานมาจากพันธุกรรม แต่การรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังก็จะช่วยลดการเกิดของอาการได้ในระดับหนึ่ง