ปฏิเสธไม่ได้ว่าไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ในยุคติดโซเชียลส่งผลทางลบต่อสุขภาพและนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือโรคอุบัติใหม่ที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อนอย่าง “โรคร่าเริง”
ฟังชื่อดูน่ารักใสๆ ไม่มีพิษไม่มีภัย แต่ขอบอกว่าหากคุณไม่หลุดพ้นจากวงจรมนุษย์ร่าเริง สุขภาพของคุณจะพังแบบเรื้อรังเลยล่ะ
“โรคร่าเริง”
เป็นโรคที่ตั้งชื่อตามพฤติกรรมของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน หรือก็คือคนที่ชอบเปลี่ยนพฤติกรรมไปทำงานในช่วงเวลากลางคืนพอถึงช่วงเวลากลางวันก็จะง่วงเหงาหาวนอน คือ การใช้เวลาวงจรชีวิตผิด (วงจรชีวิตของคนโดยปกติทั่วไป ต้องตื่นกลางวัน นอนหลับกลางคืน)โรคร่าเริงเกิดจากความผิดปกติที่เกี่ยวกับการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ บวกกับพฤติกรรมอดหลับอดนอนที่ทำสะสม ส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายจะปรวนแปรไปหมด
ผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจาก “โรคร่าเริง”
- การรับประทานอาหารในมื้อเช้าเป็นการกระตุ้นลำไส้ให้เกิดการขับถ่าย ถ้าผ่านช่วงเวลาที่ลำไส้ควรได้รับการกระตุ้นไปแล้ว และไม่ได้รับประทานมื้อเช้า ก็จะส่งผลให้เกิดอาการท้องผูก ระบบขับถ่ายแปรปรวน
- ช่วงเวลา 22.00-02.00 น. โกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมาในขณะที่เราหลับ เพื่อฟื้นฟูร่างกาย การอดนอนในช่วงเวลาที่โกรทฮอร์โมนจะต้องทำงาน จะทำให้โกรทฮอร์โมนไม่หลั่ง ส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว เพราะโกรทฮอร์โมนมีความสัมพันธ์กับกล้ามเนื้อ กระดูก และไขมัน ช่วยซ่อมเซลล์ทำให้ร่างกายแข็งแรง
- เมื่อไม่นอนในช่วงเวลาของการนอนหลับตามปกติ ฮอร์โมนที่ควรจะหลั่งออกมาก็หลั่งได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดอาการนอนหลับไม่สนิทนำไปสู่อาการกลางคืนหลับไม่สนิท กลางวันง่วงเหงาหาวนอน
- เมื่อร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน หรือทำบ่อยๆ จนเกิดภาวะสะสม ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายจะรวน และส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น ฮอร์โมนปรวนแปร รอบเดือนมาไม่ปกติ หงุดหงิดง่าย เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน
หากคุณมีอาการมึนหัวง่าย มีความดันต่ำๆ ตลอดเวลา โดยไม่รู้สาเหตุ ขี้หนาว อ่อนเพลียไม่มีแรง แม้ว่าจะรับประทานอาหารหรือพักผ่อนเพียงพอแล้วก็ตาม รู้สึกอ่อนเพลียในช่วงกลางวัน (แต่สมองแล่นในช่วงกลางคืน) หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ
ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจป่วยด้วยโรคร่าเริงรีบหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาอย่างทันท่วงที!
ทั้งนี้อย่าหวังพึ่งหมออย่างเดียวควรปรับพฤติกรรมซะใหม่ อาทิ เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา (ตามวงจรชีวิตของคนโดยปกติ) รับประทานอาหารให้ครบหมดหมู่ในปริมาณที่เหาะสม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามศักยภาพ