สาเหตุการเกิด-ชนิด-วิธีป้องกันและรักษา “แผลเป็น”

0

ขึ้นชื่อว่า “แผลเป็น” คงไม่มีใครอยากเป็น เพราะแม้ไม่ใช่โรคแต่ก็ก่อให้เกิดผลกระทบทางจิตใจได้อย่างมาก โดยเฉพาะความไม่มั่นใจ อันเกิดจากรอยแผลเป็นที่สีต่างจากผิว หรือมีลักษณะปูดนูนเห็นเด่นชัด ว่าแต่แผลเป็นเกิดจากอะไร มีกี่ชนิด สามารถป้องกันและรักษาได้หรือไม่ คำตอบอยู่ตรงหน้าคุณแล้ว…

เมื่อผิวหนังได้รับการบาดเจ็บจนเป็นแผล ไม่ว่าจะเป็นแผลจากอุบัติเหตุ แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือแผลผ่าตัด ร่างกายของเราจะทำการตอบสนองอย่างรวดเร็วในการซ่อมแซมผิวหนังบริเวณนั้น โดยร่างกายจะผลิตคอลลาเจน เพื่อช่วยสร้างเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายขึ้นใหม่ ทำให้บาดแผลสมานกัน โดยที่ร่างกายจะมุ่งเน้นไปที่การเร่งรักษาบริเวณนั้นอย่างรวดเร็ว มากกว่าการที่จะรักษาให้ผิวหนังบริเวณนั้นกลับคืนมาสู่สภาพสมบูรณ์เช่นเดิม ดังนั้นจึงนำไปสู่การเกิดแผลเป็นขึ้นนั่นเอง

รอยแผลเป็นมีมากมายหลายชนิด แต่ที่เป็นปัญหาหลัก ๆ จะมี 3 ชนิดใหญ่ คือ

1. แผลเป็นนูน คือ แผลเป็นที่มีสีแดงและนูนขึ้นมาจากผิวหนังปกติ แต่ยังอยู่ในขอบเขตของรอยแผลที่เกิดจากการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของแผลเดิม (จะนูนตามแนวแผลเดิมเท่านั้น) แผลเป็นชนิดนี้เกิดจาการสร้างคอลลาเจนมากเกินไป

2. แผลเป็นนูนชนิดคีลอยด์ คือ แผลเป็นที่มีอาการนูนและแดงคล้ายกับรอยแผลเป็นนูนหนา แต่มีความผิดปกติ ทำให้เกิดการขยายตัวกว้างขึ้นเข้าสู่เนื้อเยื่อรอบ ๆ จนเกินขอบเขตของรอยแผลตอนแรกเริ่ม ซึ่งจุดที่มักจะเกิดแผลเป็นคีลอยด์ได้ง่าย ได้แก่ ใบหู สันกราม หัวไหล่ กลางหน้าอก กลางหลัง หรือผู้ที่มีการซ่อมแซมที่ผิดปกติก็จะเกิดแผลคีลอยด์ได้ง่าย

3. แผลเป็นหลุม เป็นรอยแผลเป็นที่รอยลึกลงจากผิวหนัง สังเกตดูก็จะเห็นว่าผิวตรงนั้นจะยุบตัวมากกว่าผิวปกติ มีสีใกล้เคียงกับสีผิวหนังปกติ มักเป็นรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว หรือโรคอีสุกอีใส

สำหรับวิธีการรักษาแผลเป็น มีดังนี้

1. ทายา วิธีที่ง่าย ปลอดภัย แต่ต้องอาศัยความมีวินัยในการทายาอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างยาทาแผลเป็นยอดนิยมที่หลายคนมีติดบ้าน คือ Hiruscar (ฮีรูสการ์) ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีปัญหา และช่วยป้องกันการเกิดร่องรอยต่าง ๆ ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ร่องรอยจากการผ่าตัด อุบัติเหตุ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก อีสุกอีใส ช่วยให้รอยคล้ำดำแลดูจางลง ช่วยลดรอยนูนและคีลอยด์ และช่วยทำให้ผิวแลดูเรียบเนียนสม่ำเสมอ เนื้อเจลใสซึบซาบเร็วไม่เหนียวเหนอะหนะ และไม่ทิ้งคราบขุยไว้บนผิว

2. การผ่าตัด ในกรณีแผลเป็นจากไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกเป็นบริเวณกว้าง และส่งผลให้ขยับข้อแขน ขา บริเวณนั้นไม่ได้ สำหรับแผลคีลอยด์อาจใช้วิธีตัดออก หรือว่าลดขนาดลงบางส่วน และอาจต้องปลูกถ่ายผิวหนังมาจากบริเวณอื่น

3. การทำเลเซอร์ วิธีนี้เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลเร็ว แต่ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการทายามาก เป็นการใช้พลังงานจากเลเซอร์ เพื่อส่งผ่านชั้นผิวหนังเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อบริเวณรอยแผลเป็นที่นูนให้เรียบเนียนขึ้น เหมาะกับแผลเป็นที่เกิดในบริเวณเด่นชัด

4. การฉีดยา โดยการฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์เข้าไปในเนื้อแผลเป็นโดยตรง เพื่อทำให้แผลนิ่มและบางลงได้ วิธีนี้อาจทำให้มีอาการเจ็บได้พอสมควรในระหว่างการฉีดยา แนะนำให้ฉีดแผลเป็นนี้ในช่วงระยะไม่เกิน 1 ปีแรกหลังจากที่ได้รับบาดเจ็บ

สิ่งสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดรอยแผลเป็น คือการดูแลแผลตั้งแต่มีบาดแผลใหม่ ๆ โดยดูแลแผลให้สะอาด ทายาฆ่าเชื้อ หลีกเลี่ยงการโดนน้ำจนกว่าแผลจะเริ่มแห้ง งดการแกะเกา ที่สำคัญหมั่นทายาลบรอยแผลแต่เนิ่น ๆ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *