อาการปวดหัวอาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่างรวมถึงการถูกกระตุ้นโดยการกินอาหาร ในผู้หญิงระดับฮอร์โมนผันผวนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะเรื้อรังและไมเกรนเมื่อมีประจำเดือน ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนไปในระหว่างรอบประจำเดือน การตั้งครรภ์และวัยหมดประจำเดือน รวมทั้งได้รับผลกระทบจากยาคุมกำเนิดและการบำบัดทดแทนฮอร์โมน เรามาทำความรู้จักเรื่องราวเหล่านี้ให้มากขึ้นเพื่อรู้เท่าทันและบำบัดรักษาได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวจากฮอร์โมน
- รอบเดือน: ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลงสู่ระดับต่ำสุดก่อนมีประจำเดือน
- ตั้งครรภ์: ระดับฮอร์โมนหญิงเพิ่มขึ้นในการตั้งครรภ์
- วัยหมดประจำเดือน: ความผันผวนของระดับฮอร์โมนในการหมดประจำเดือน ทำให้ผู้หญิงบางคนมีอาการปวดหัวมากขึ้น ผู้หญิงประมาณ 2 ใน 3 ที่มีอาการไมเกรนบอกว่า อาการดีขึ้นเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน สำหรับบางคนไมเกรนแย่ลงกว่าเดิม อาจเกิดจากการใช้ฮอร์โมนทดแทน
- ยาคุมกำเนิด: ยาคุมกำเนิดอาจทำให้ระดับฮอร์โมนเพิ่มขึ้นและลดลง
แต่ทั้งนี้ก็ยังมีปัจจัยร่วมอื่นๆ ด้วยเช่นเดียวกัน สำหรับคนที่มีอาการปวดหัวเรื้อรัง หรือไมเกรนจะมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ปวดหัวหรือมีอาการ นอกจากฮอร์โมนแล้วสิ่งที่ทำให้ปวดหัวได้ อาจหมายรวมถึง
- การข้ามมื้ออาหาร อดอาหาร
- นอนมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
- ได้รับกลิ่นที่รุนแรง
- การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรง
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยเฉพาะไวน์แดง
- ดื่มกาแฟมากเกินไป หรือมีอาการถอนคาเฟอีน (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ภาวะถอนคาเฟอีน (Caffeine withdrawal) ติดกาแฟ เลิกยังไงดี?)
- เครียด
- กินเนื้อสัตว์แปรรูปมากเกินไป
- กินผงชูรสมาก
- ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
- สารให้ความหวานเทียม
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า… นี่คือ ปวดหัวเพราะฮอร์โมน
อาการปวดหัวฮอร์โมนจะเหมือนการปวดหัวไมเกรน และการปวดไมเกรนประจำเดือนหรือฮอร์โมนมีความคล้ายคลึงกับไมเกรนปกติ โดยไมเกรนเป็นอาการปวดสั่นซึ่งเริ่มที่ด้านหนึ่งของศีรษะ นอกจากนี้ยังอาจเกี่ยวข้องกับความไวต่อแสงและคลื่นไส้หรืออาเจียน
อาการอื่นๆ ของอาการปวดหัวฮอร์โมนที่สังเกตได้
- ไม่อยากอาหารร่วมด้วย
- เมื่อยล้า
- เป็นสิว
- มีอาการปวดข้อ
- ปัสสาวะลดลง
- ขาดโฟกัส
- ท้องผูก
- อยากดื่มแอลกอฮอล์หรือช็อคโกแลต
วิธีรักษาอาการปวดหัวฮอร์โมน เบื้องต้น
- ดื่มน้ำปริมาณมากเพื่อคงความชุ่มชื้น
- นอนในห้องที่มืดและเงียบ
- วางถุงน้ำแข็งหรือผ้าเย็นไว้ที่หัว
- นวดบริเวณที่รู้สึกเจ็บปวด
- หายใจลึก ๆ หรือการออกกำลังกายเพื่อการผ่อนคลายอื่น ๆ
- หากมีอาการปวดรุนแรงควรหาหมอ
เรื่องราวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหัว เพื่อให้เพื่อนๆ ได้ลองเช็คกันดูค่ะ หากมีอาการอยู่
- ปวดหัวทั้งวัน บ่อยๆ สาเหตุมาจากอะไร? (พร้อมวิธีป้องกัน)
- 9 อาการบอกว่า ที่เราปวดหัวเป็นเพราะขาดน้ำ!
- ปวดหัวรุนแรง ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headaches) คืออะไร?
- ปวดหัวบ่อยหรือเปล่า? 6 ผลกระทบ “ขาดธาตุเหล็ก” ที่หลายคนมองข้าม