การวิเคราะห์ผลการวิจัยที่มีคุณภาพสูงล่าสุดพบว่า… อาหารเพื่อสุขภาพอาจมีผลต่อความเสี่ยงของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและความก้าวหน้าของโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุหรือที่เรียกว่า AMD (ย่อมาจาก Age-related Macular Degeneration) โดยผลการวิจัยได้รับการตีพิมพ์ใน Clinical & Experimental Ophthalmology
มีการศึกษาอย่างเป็นระบบประกอบด้วยการวิเคราะห์ 18 การศึกษาที่มีคุณภาพสูง พบเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารที่เกี่ยวข้องกับโรคจอประสาทตาเสื่อม ดังนี้ครับ
- อาหารเมดิเตอเรเนียน (Mediterranean diet) มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ลดลงของโรคจอประสาทตาเสื่อม
- อาหารแบบโอเรียนเต็ล (Oriental diet) ซึ่งจะเน้นการบริโภคผักผลไม้ตระกูลถั่ว ผลไม้ ธัญพืช มะเขือเทศและอาหารทะเล มีความสัมพันธ์กับความชุกของโรคจอประสาทตาเสื่อมลดลง
- รูปแบบอาหารตะวันตก (มีปริมาณเนื้อแดง เนื้อสัตว์แปรรูป นมไขมันสูง ผลิตภัณฑ์มันฝรั่งทอดและไข่) ได้เพิ่มความสัมพันธ์กับความชุกของโรคจอประสาทตาเสื่อม
การบริโภคผักที่อุดมไปด้วยแคโรทีนอยด์ (carotenoids) หรือผักผลไม้ที่มีสีเหลือง สีส้ม สีแดง และปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค AMD ในทางกลับกันอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลในเลือดสูงและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าสองแก้วต่อวันทำให้เสี่ยงเป็น AMD มากขึ้น
Naoko Chapman จาก University of Auckland ในประเทศนิวซีแลนด์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า
“การปรับปรุงคุณภาพของอาหาร การเพิ่มปริมาณอาหารที่มีสารอาหารที่ต้องการเพื่อสุขภาพม่านตา และหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดความเสียหายจากการเกิดออกซิเดชันจะมีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม”
แบบนี้ถ้าไม่อยากเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม คงต้องเลือกทานอาหารที่ทำให้ความเสี่ยงลดลงแล้วล่ะครับ!