“โรคเกรฟส์” โรคภูมิต้านตนเอง ผู้หญิงสูบบุหรี่ยิ่งเสี่ยงกว่า!

0

โรคเกรฟส์ (Graves’ disease)

หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อไทยๆ แบบตรงตัวว่า “โรคคอพอกตาโปน” เป็นโรคที่พบในคนอายุ 20-40 ปี มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้จัดเป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่ง มักมีต่อมไทรอยด์โตแบบกระจายและมีอาการตาโปน (Exophthalmoses) ร่วมด้วย เนื่องจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหลังลูกตาอ่อนกำลังลง

graves-disease (1)

การสร้างสารภูมิต้านทานต่อไทรอยด์จะมีอยู่หลายชนิด ที่สำคัญคือ Thyroidstimulating Immunoglobulin (TSI) ซึ่งจะไปจับกับตัวรับฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ (TSH) ที่ต่อมไทรอยด์และกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนออกมาซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของต่อมใต้สมองจนทำให้มีฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป จึงเกิดภาวะพิษจากไทรอยด์เมื่อเกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันต้านทานของร่าง กาย/แอนติบอดี/สารภูมิต้านทาน (Antibody) ต่อต่อมไทรอยด์จะส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทั้งต่อมโตขึ้น และเซลล์ต่อมไทรอยด์สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนสูงขึ้นเรียกว่า “โรคเกรฟส์”

สำหรับสาเหตุของโรคเกรฟส์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มักพบว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางเพศและกรรมพันธุ์ นอกจากนี้ความเครียดยังเป็นตัวกระตุ้นให้โรคกำเริบได้ โรคเกรฟส์นี้มักมีอาการแบบเรื้อรัง อาจกำเริบขึ้นใหม่ได้แม้จะหายจากอาการป่วยไปแล้วก็ตาม

จากการศึกษายังพบว่าอาการแสดงที่ดวงตาของโรคนี้พบมากในผู้สูบบุหรี่

graves-disease (2)

และอาจแย่ลงหลังจากการรักษาอาการที่ไทรอยด์ด้วยไอโอดีนรังสี (radioiodine) นอกจากนี้ยังพบว่า ร่างกายของผู้ป่วยกลุ่มนี้มีการสร้างสารภูมิต้านทานต่อต่อมไทรอยด์ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ต่อม ไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมาโดยอยู่เหนือการควบคุมของต่อมใต้สมอง เป็นเหตุให้เกิดภาวะพิษจากไทรอยด์ มักพบมีต่อมไทรอยด์โตลักษณะแบบกระจาย (ไม่เป็นปุ่ม) และอาจมีอาการตาโปนร่วมด้วย

ในส่วนของการรักษานั้นก็เพื่อยับยั้งการสร้างฮอร์โมนโดยการให้รับประทานยา หรือได้รับสารไอโอดีนที่เป็นกัมมันตรังสี หรือการผ่าตัดเอาบางส่วนของต่อมออกเพื่อให้การสร้างฮอร์โมนไทรอกซินน้อยลง

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *