เป็นปัญหาหลักที่พบได้ทั่วโลกในปัจจุบันสำหรับประเทศไทยเองในตอนนี้พบคนไทยกว่า 20 ล้านคน เป็นโรคอ้วน แม้ 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะยังมีสุขภาพแข็งแรง แต่ส่วนใหญ่ภาวะอ้วนจะนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ อาทิ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด รวมถึง “โรคไต”
“โรคอ้วน”
เป็นการที่ร่างกายมีปริมาณไขมันมากกว่าปกติ โดยการตัดสินว่าใครมีภาวะอ้วน ดูง่ายๆ จาก “ดัชนีมวลกาย” หรือ Body mass Index (BMI) ซึ่งคำนวณได้จากน้ำหนัก (กก.) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง
ค่าปกติ คือ 18 – 25 ถ้ามากกว่า 25 ควรระวังเพราะอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกิน!
ถ้าเกิน 30 ถือว่าเป็นโรคอ้วน อีกวิธีหนึ่งคือ วัดอัตราส่วนระหว่างรอบเอวและสะโพก ในผู้ป่วยไมควรเกิน 0.9 และผู้หญิงไม่ควรเกิน 0.8 หรือวัดรอบเอวไม่ควรเกิน 90 ซม. ในผู้ป่วยและ 80 ซม. ในเพศหญิง
“ไต” เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด และขับออกพร้อมกับน้ำในรูปของปัสสาวะ นอกจากนี้ ไตช่วยรักษาความปกติของน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย สร้างสารที่ควบคุมความดันโลหิต และสารที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงส่วน
“โรคไต” คือ โรคที่เกิดจากไตทำงานผิดปกติจึงก่อให้เกิดการคั่งของของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการเหล่านั้น ส่งผลถึงการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ ถึงขั้นเกิดเป็นภาวะไตวายได้
เมื่อร่างกายมีน้ำหนักเกินไตจะต้องทำงานหนักเพื่อรองรับอัตราการกรองของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น แรงดันในไตจะสูงขึ้นก่อให้เกิดไตวายเรื้อรังในอนาคต เซลล์ไขมันยังสร้างสารการอักเสบมาทำลายเนื้อเยื่อไตจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการเพิ่มขึ้นของดัชนีมวลกายเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
และจากการสำรวจในประเทศไทยพบว่าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นตามความรุนแรงของโรคอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตนอกจากนี้ โรคอ้วนยังทำให้การทำงานของไตลดลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงเพิ่มภาวะแทรกซ้อนทางไตอีกด้วย
รู้อย่างนี้แล้วอย่าประมาท ควรป้องกันรักษาสุขภาพโดยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกายและตรวจสุขภาพไตเป็นระยะ