“โรคกระเพาะอาหาร” โรคท็อปฮิตจากวิถีชีวิตสังคมเมือง

0

จากไลฟ์สไตล์คนเมืองที่เร่งรีบ ทำให้หลายคนต้องเผชิญกับภาวะความเครียด การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาและไม่มีคุณภาพ รวมถึงรับประทานอาหารรสจัดเกินไป เหล่านี้ล้วนนำไปสู่ความเจ็บป่วยของร่างกาย โดยหนึ่งในโรคฮอตฮิตในปัจจุบันที่มักพบบ่อยในกลุ่มคนเมืองก็คือ “โรคกระเพาะอาหาร”

gastric (1)

“โรคกระเพาะอาหาร”

หมายถึง โรคที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น หรือมีการอักเสบของเยื่อกระเพาะอาหาร หลายคนมักเข้าใจว่าอาการปวดท้องเรื้อรังบริเวณใต้ลิ้นปี่เป็นอาการของโรคกระเพาะอาหาร แท้จริงแล้วอาการปวดท้องอาจเกิดจากโรคอื่นๆ ภายในช่องท้องอีกมากมาย เช่น โรคระบบทางเดินน้ำดี โรคตับอ่อน เป็นต้น โรคกระเพาะอาการเป็นกลุ่มโรคที่พบบ่อย ที่สำคัญได้แก่ โรคแผลในกระเพาะอาหาร และ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ

อาการของโรคกระเพาะอาหารโดยทั่วไปเป็นยังไง?

  • มักมีอาการปวดท้องบริเวณยอด อกหรือใต้ลิ้นปี่
  • บางรายมีอาการจุก เสียด แน่น เจ็บแสบหรือร้อน อาการจะสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกินหรือชนิดของอาหาร เช่น อาจปวดมากตอนหิว หลังอาหารอาการจะทุเลา หรือปวดมากเมื่อกินอาหารรสเผ็ดจัด เป็นต้น

โรคกระเพาะอาหารมีสาเหตุหลักๆ ดังนี้

  1. เชื่อโรคเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร (Helicobacter pylori) โดยเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นเพิ่มขึ้น 6-40 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีการติดเชื้อและมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น 2-6 เท่า เมื่อเทียบกับคนปกติที่ไม่มีการติดเชื้อ
  2. การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากเกินปกติ โดยสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดก็เช่น ความเครียด, การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์,การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน, การสูบุหรี่
  3. การทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารโดยสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดก็เช่น การกินอาหารไม่ตรงเวลา, การกินอาหารรสจัด, การกินยาบางชนิด (เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID, ยาสเตียรอยด์) การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  4. กรรมพันธุ์ หากครอบครัวไหนมีสมาชิกป่วยเป็นโรคกระเพาะ คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคสูง

gastric (2)

โรคกระเพาะอาหารสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากทิ้งไว้ไม่รักษาหรือปฏิบัติตัวให้ถูกต้องเพื่อบรรเทาอาการก็จะมีอาการเป็นๆ หายๆ และถ้าปล่อยให้เป็นมาก จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ฉะนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดโรคกระเพาะอาหารควรปรับการดำเนินชีวิตให้สมดุลทั้งร่างกาย และ จิตใจ อาทิ กินอาหารให้ตรงเวลา กินอาหารที่มีประโยชน์ครบหมวดหมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำใจให้เบิกบานไม่เครียด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *