นักดื่ม-นักสูบ เสี่ยงมะเร็งช่องปากกว่าคนปกติ 15 เท่า!

0

อันที่จริงก็มีบทความสุขภาพออกมาให้ได้ยินได้ฟังกันเรื่อยๆ เกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพอันเนื่องมาจากการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ แต่เหล่านักดื่มและสิงห์อมควันกลับเลือกที่จะเมินเฉยกันว่าแต่ถ้าเราจะบอกว่าการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นประจำมีโอกาสเป็นมะเร็งช่องปากมากกว่าคนปกติ 15 เท่า คุณยังจะชิลล์กันต่อไปแมะ??

มะเร็งช่องปาก (Oral Cancer)

มะเร็งของริมฝีปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม เหงือก พื้นปากและ เพดานแข็งต่อมทอนซิลและส่วนบนของลำคอ

  • มักพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เสี่ยงมากกว่าเดิม

ที่น่ากลัวก็คือ ในบ้านเรา มะเร็งช่องปากติด 1 ใน 10 มะเร็งที่พบในคนไทย โดยมะเร็งที่บริเวณลิ้นนั้นพบมากที่สุด

Man smoking and drinking

อาการของโรค

มีแผลในช่องปาก รักษาไม่หายเป็นเวลานานเกิน 3 สัปดาห์ขึ้นไป มีฝ้าขาวในช่องปาก ร่วมกับตุ่มนูนบนเยื่อบุช่องปากและลิ้น มีก้อนไม่รู้สึกเจ็บในช่องปาก โตเร็วและแตกเป็นแผล หรือมีก้อนที่คอ กดไม่เจ็บ บวมโตขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งแตกออกเป็นแผล ระยะเริ่มแรกของมะเร็งช่องปากมักไม่มีอาการเจ็บปวด

นอกจากมีการอักเสบติดเชื้อร่วมด้วย แต่มะเร็งของลิ้นหรือลำคอในบางตำแหน่งอาจทำให้เกิดการเจ็บในหู ขณะกลืนอาหารได้เพราะมีเส้นประสาทร่วมกัน สำหรับมะเร็งของลิ้นและพื้นปากใต้ลิ้นอาจทำให้มีอาการแลบลิ้นไม่ออก พูดไม่ชัด กลืนอาหารลาบาก ในรายที่เป็นบริเวณใต้ขากรรไกร โดยเฉพาะเมื่ออยู่ที่เหงือกในตำแหน่งหลังฟันกรามซึ่งลุกลามเข้าไปในกล้ามเนื้อที่ใช้ในการอ้าปาก จะทำให้อ้าปากลำบาก ซึ่งหากมีความผิดปกติดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ เพื่อหาทางรักษาและบรรเทาอาการ

ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า…

ผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มสุรา มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่และดื่มสุราถึง 15 เท่า จากสถิติพบผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปากร้อยละ 90 เป็นผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มสุรา เพราะควันบุหรี่และแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดการระคายเคืองโดยเนื้อเยื่อที่มักมีผลกระทบจากความร้อน เช่น บริเวณกระพุ้งแก้ม เพดาน และลำคอ เมื่อถูกระคายเคืองเป็นประจำ ทำให้เนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและอาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้

โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนบุหรี่ที่สูบต่อวันและจำนวนปีที่สูบ เช่นเดียวกับการดื่มสุราที่ยิ่งดื่มมากโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *