สำนวนไทยบอกว่า “ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” เพราะไม่เจ็บป่วยก็ใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่ต้องเสียเวลาและเงิน แต่เพื่อนๆ เคยเป็นกันหรือเปล่า บางอาการมันก็ดูปกติมากเลยนะ จนมาพบอีกครั้งคือเป็นหนักไปแล้ว แบบนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยอยู่เหมือนกันว่า แล้วเมื่อไหร่ล่ะ… ที่เราควรไปหาหมอ
ด้วยความคิดแบบนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์และโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ชาวแคนาดา 2 ท่านจึงเปิดคัมภีร์แนะนำการแพทย์พื้นฐานกับคนทั่วไป โดยรวบรวมความรู้ง่าย ๆ ในการป้องกันและรักษาอาการเจ็บป่วยไว้ในหนังสือ ต้องหาหมอไหมเนี่ย! จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ช่วยให้รู้วิธีป้องกันและรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไปในชีวิตประจำวัน ว่าต้องดูแลอาการอยู่กับบ้านอย่างไร และขั้นไหนต้องส่งให้ถึงมือแพทย์เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น โดยในบทความนี้เราขอยกเนื้อหาบางส่วนของในหนังสือมาให้เพื่อนๆ ได้ดูกัน และเป็นอีกหนึ่งโรคฮิตอย่าง…
โรคหวัด
โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน เช่น จมูก คอ ไซนัส และกล่องเสียง โดยเชื้อที่ก่อให้เกิดไข้หวัดมักเป็นเชื้อไวรัสชนิดไม่รุนแรง และหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ การรักษาไข้หวัดทำได้ด้วยการใช้ยา ควบคู่กับการนอนพักผ่อน และดื่มน้ำมาก ๆ
ผลกระทบแบบแย่ ๆ ของโรคแสนธรรมดา
- ผละกระทบที่เกิดจากโรคหวัดในวัยเด็ก อาการที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ น้ำมูกไหล คัดจมูก ไอ ต่อมต่างๆในร่างกายบวม เจ็บคอ เจ็บหู ตาเชื่อม มีไข้ หงุดหงิด เบื่ออาหาร รวมไปถึงการนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ซึ่งอาการหวัดโดยทั่วไปจะดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ โดยเฉลี่ยเด็กมักเป็นหวัดถึง 6-10 ครั้งต่อปี อาการหวัดหลายชนิดอาจไม่รุนแรงและไม่เป็นที่สังเกตของพ่อแม่
- ผละกระทบที่เกิดจากโรคหวัดในวัยผู้ใหญ่ อาการจะคล้ายกับวัยเด็ก แต่บางครั้งอาจมีอาการรุนแรงกว่า โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคอยู่แล้ว เช่น ผู้ป่วยโรดปอด เบาหวาน หัวใจ หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ เป็นต้น อาจทำให้มีอาการไข้ขึ้นสูงติดต่อกันเกิน 5 วัน กลับมามีไข้ซ้ำหลังจากอาการไข้หายแล้ว ไอแห้ง ๆ หายใจหอบเหนื่อยและหายใจมีเสียงหวีด มีอาการเจ็บคออย่างรุนแรง ปวดศีรษะอย่างหนัก หรือมีอาการปวดบริเวณไซนัส ซึ่งอาการหวัดโดยทั่วไปจะดีขึ้นใน 1–2 สัปดาห์ แต่สำหรับอาการไอแห้ง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างเป็นหวัด อาจหายภายใน 2-3 สัปดาห์
เรียนรู้วิธีรักษา โรคแสนธรรมดาด้วยวิธีธรรมดา
- การรักษาโรคหวัดสำหรับเด็ก ผู้ปกครองควรสังเกตอาการของเด็ก ถ้าพบว่าเป็นหวัด หรือมีไข้ ให้สวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย ๆ อย่าห่มผ้าหลายชั้น แต่ถ้ามีอาการหนาวสั่น ให้สวมเสื้อผ้าอุ่น ๆ จนกว่าจะหยุดหนาวสั่น แล้วค่อยกลับมาสวมเสื้อผ้าเบาสบายอีกครั้ง
เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล กระตุ้นให้เด็กสั่งน้ำมูก หรือใช้กระเปาะยางดูดน้ำมูกออกมาเบา ๆ และหากต้องการใช้ยาพ่นจมูกที่มีเกลือ หาซื้อได้ที่ร้านขายยา จะช่วยให้จมูกแห้ง กรณีเด็กมีอาการคัดจมูก อย่าใช้สเปรย์พ่นลดอาการคัดจมูก เพราะยาพ่นอาจทำให้เกิดอันตรายกับเด็กได้ ให้นอนหงายและหยอดน้ำอุ่น 3 หยด ในรูจมูก แต่ละข้าง 1 นาที หลังจากนั้นให้เด็กสั่งน้ำมูกหรือการใช้เปาะยางดูดน้ำมูกตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ทำซ้ำเท่าที่จำเป็น และการสูดจมูกเบา ๆ เป็นวิธีที่ดีในการทำให้จมูกโล่ง
สำหรับการใช้ยาลดไข้ กลุ่มอะเซตามิโนเฟน (เช่น Tylenol) หรือไอบูโปรเฟน (เช่น Advil Motrin) เพื่อระงับไข้และบรรเทาอาการไม่สบาย และการทานยาลดอาการคัดจมูกหรือยาผสม เช่น Dimetapp ช่วยให้น้ำมูกหยุดไหล และนอนหลับได้ดีขึ้น ไม่ควรใช้ยาแก้แพ้ แอนติฮิสทามีน (Antihistamine) และยากลุ่ม ASA (เช่น Aspirin) กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี และที่สำคัญควรดื่นน้ำเปล่าเยอะ ๆ หรือการจิบเครื่องดื่มอุ่นๆ ช่วยบรรเทาอาการไอได้ โดยเฉพาะน้ำอุ่นผสมมะนาว หรือน้ำผลไม้อุ่น ๆ เช่น น้ำมะนาว หรือแม้แต่ซุปไก่ก็ช่วยบรรเทาอาการได้ดี
- การรักษาโรคหวัดสำหรับผู้ใหญ่ ผู้ที่มีอาการโดยทั่วไป เช่น ปวดศีรษะและมีน้ำมูกไหล อาจใช้ยาลดอาการคัดจมูกและยาแก้แพ้ เช่น Dimetapp อาจช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น แต่ต้องขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรในร้านขายยา ถ้ามีอาการไอร่วมด้วย อาจใช้ยาแก้ไอที่มีตัวยาเดกซ์โตรเมทอร์แฟน ช่วยบรรเทาอาการไอแห้ง ๆ และการนอนหลับไม่สนิทหรือพบว่าทำงานไม่สะดวกอันเนื่องมาจกาอาการไอ โดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นใน 1–2 สัปดาห์ ไม่ว่าคุณจะไปหาหมอหรือไม่ก็ตาม แต่สำหรับอาการไอแห้งๆ ที่เกิดขึ้นระหว่าวเป็นหวัด อาจหายภายใน 2-3 สัปดาห์ ไม่ควรกลั้นการไอทุกแบบ เช่น การไอมีเสมหะหรือไอที่เกิดร่วมกับอาการคัดจมูก จะช่วยขจัดน้ำมูกจากโพรงจมูก
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาหวัด อีกทั้งยาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาหวัดให้หายขาด คุณควรดูแลตัวเองเพื่อให้อาการดีขึ้น โดยการพักผ่อนและดื่มน้ำให้มาก ๆ ทดแทนน้ำที่สูญเสียไปจากน้ำมูกไหล ไอ และอาการไข้ ร่วมกับการใช้ยาอะเซตามิโนเฟน (Tylenol) หรือไอบูโปรเฟน (Advil Motrin) รักษาอาการไข้ อาการเจ็บปวด
ในอากาศชื้นยังมีส่วนทำให้เกิดอาการหวัด ให้ใช้เครื่องเพิ่มไอน้ำแบบไอเย็น หลีกเลี่ยงเครื่องพิมพ์ไอน้ำอัลตราโซนิกส์และเครื่องเพิ่มไอน้ำแบบไอร้อน ควรดื่มเครื่องดื่มร้อน ๆ จะช่วยลดการคัดจมูกและบรรเทาอาการไอ โดยเฉพาะซุปไก่และน้ำมะนาวอุ่น ๆ สิ่งสำคัญอีกประการ คือ การไอและจามจะแพร่กระจายเชื้อโรค ควรปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอหรือจาม หลังจากนั้นก็ให้ไปล้างมือ เพราะเชื้อโรคแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสผู้อื่น
ยังมีวิธีป้องกันและดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไปอีกมากมายในหนังสือ ต้องหาหมอไหมเนี่ย! เล่มนี้ ที่จะช่วยพัฒนาทักษะในการดูแลรักษาตัวเองอย่างปลอดภัยและมั่นใจ จากโรคหรืออาการอื่น ๆ ที่เกิดได้กับทุกวัย และยังสมบูรณ์ด้วยคำแนะนำเรื่องตู้ยาสามัญประจำบ้าน การสื่อสารของแพทย์กับคนไข้ และเกร็ดน่ารู้มากมาย
เก็บหนังสือเล่มนี้ไว้ในที่ที่หยิบใช้และค้นหาได้สะดวกทุกครั้งที่มีปัญหาสุขภาพ หรือพกติดตัวเวลาเดินทางไปพักผ่อนก็นับเป็นความคิดที่ดี เพราะจะช่วยให้คุณไม่ต้องไปโรงพยาบาลหรือพบแพทย์โดยไม่จำเป็น มีไว้…มีแต่ได้กับได้ กับ ‘หนังสือต้องหาหมอไหมเนี่ย!’ จำนวน 144 หน้า ราคาเล่มละ 175 บาท มีวางจำหน่ายแล้วตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ หรือสั่งซื้อ โทร.0-2622-3000 กด 0 หรือ www.nanmeebooks.com www.facebook.com/nanmeebooksfan ติดตามข่าวสารและหนังสือที่น่าสนใจอีกมากมายเพียง ADD LINE @nanmeebooks และ @nmbadult