“คาร์บอนมอนนอกไซด์” เป็นก๊าชเกิดจากการเผาไหม้ที่การระบายอากาศไม่เพียงพอ เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ติดไฟแต่ไม่ไวต่อปฏิกิริยา ไม่เป็นก๊าซกัดกร่อน ละลายน้ำได้เล็กน้อย ละลายได้ดีในสารทำละลาย และไม่มีผลระคายเคือง การได้รับก๊าซชนิดนี้ในปริมาณมากอาจทำให้เกิด…
“โรคคาร์บอนมอนนอกไซด์”
สำหรับลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยงต่อ “โรคคาร์บอนมอนนอกไซด์” (Disease caused by carbon monoxide)
ได้แก่ พนักงานดับเพลิง พนักงานขับรถ ช่างเครื่องยนต์ ผู้ทำงานในอู่รถพนักงานรักษาความปลอดภัยในอาคารจอดรถ ผู้ทำงานในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเลียม โลหะ ก๊าซ ผลิตสารเคมีหลอมเหล็กกล้า เหมืองแร่ เครื่องจักรกล โรงงานทำเยื่อกระดาษ
คาร์บอนมอนนอกไซด์เข้าสู่ร่างกายทางการหายใจเป็นหลัก ก๊าซถูกขับออกจากร่างกายทางการหายใจในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลง และส่วนน้อยที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นคาร์บอนมอนนอกไซด์เหล่านี้ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อระบบอวัยวะที่สำคัญของร่างกายโดยแบ่งเป็น
1. อาการแบบเฉียบพลัน
การหายใจเข้าสู่ร่างกาย มีผลให้เม็ดเลือดแดงเสียความสามารถในการขนส่งออกซิเจนไปยังอวัยวะ และเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกายเกิดภาวะร่างกายขาดออกซิเจนของเนื้อเยื่อ รวมทั้งเนื้อเยื่อของเซลล์สมองและกล้ามเนื้อหัวใจ
พบอาการปวดศีรษะคลื่นไส้ อาเจียน ครั่นเนื้อครั่นตัวอ่อนเพลีย ง่วงซึม สับสนแน่นหน้าอก ใจสั่น และหายใจลำบาก อาการรุนแรงอาจชักและหมดสติได้ การสัมผัสสารเคมีที่เป็นของเหลวจะทำให้เกิดอาการน้ำแข็งกัด การสัมผัสตาระคายเคืองตา เยื่อตาอักเสบ
2. อาการแบบเรื้อรัง
มีรายงานการศึกษาผลกระทบจากการสัมผัสคาร์บอนมอนนอกไซด์ต่ำๆเป็นเวลานานอาจพบว่ามีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
การรักษา “โรคคาร์บอนมอนนอกไซด์”ที่สำคัญที่สุด
ได้แก่ การหยุดยั้งการได้รับและการให้ออกซิเจน 100% ในผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบประสาทและหัวใจ ส่วนหญิงมีครรภ์และเด็ก ควรได้รับการรักษาด้วยการให้ออกซิเจนภายใต้ความดันบรรยากาศสูง
ใครที่รู้ว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงก็ขอให้ระวังกันด้วยนะคะ 🙂