เราจะแยกระหว่าง “รังแค” กับ “โรคสะเก็ดเงิน” อย่างไร?

0

“รังแค” เป็นอีกหนึ่งปัญหากวนใจ เพราะนอกจากอาการคันแล้ว ยังทำให้เราเสียบุคลิกได้ด้วย โดยสาเหตุของการเกิดรังแคนั้นมาจาก…

  • การแพ้สารเคมีจากยาสระผม น้ำยาย้อมผม หรือน้ำยาดัดผม
  • โรคภูมิแพ้ผิวหนังหรือผิวหนังอักเสบที่ศีรษะ ที่เรียกว่า ‘เซ็บเบอริก เดอมาไตติส (Seborrheic dermatitis)’
  • การติดเชื้อราแบบกลากที่หนังศีรษะ
  • การเป็นโรคสะเก็ดเงิน หรือ ‘โซไรสิส (Psoriasis)

แต่จะมีอีกหนึ่งโรคที่ลักษณะอาการแรกเริ่มนั้นมีความใกล้เคียงกัน เรียกว่า “โรคสะเก็ดเงิน” หลายคนอาจคิดว่าโรคนี้นั้นเกิดขึ้นกับส่วนแขน ขา หรือว่าคอ แต่ความจริงแล้วโรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับทุกส่วนเลยนะ บนศีรษะก็สามารถเกิดโรคนี้ได้เหมือนกัน

แล้วเราจะแยกระหว่าง รังแค กับ โรคสะเก็ดเงิน ?

dandruff-vs-psoriasis

รังแคจะมีอาการคันมากกว่า และแผ่นรังแคจะมีสีออกเหลือง ส่งผลให้ผมร่วง โรคสะเก็ดเงิน เกล็ดที่ลอกออกจะมีความหนากว่าและเป็นสีเงิน เป็นผื่นร่วมด้วย ร่วมทั้งลอกเป็นขุย มีแผ่นใหญ่ร่วมด้วย และหากลอกออกจะเห็นจุดเลือดสีแดง แต่ผมจะไม่ร่วง

หากเป็น “รังแค” จะรักษาอย่างไร

  • เลี่ยงการสัมผัสหนังศีรษะบ่อยๆ จริง ๆ แล้วหนังศีรษะของเราก็บอบบางนะ ไม่ควรไปเกาศีรษะ ถูหนังศีรษะ หวีผม หรือเสยผมมากเกินไป เพราะจะยิ่งเป็นการกระตุ้นให้หนังศีรษะผลิตน้ำมันออกมามาก และทำให้ผมมันเร็วมากขึ้น ซึ่งนี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดรังแคได้เช่นกันค่ะ
  • เลี่ยงการสระผมด้วยวิธีที่ผิด การสระผมด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนจะทำให้หนังศีรษะแห้งและลอกเป็นขุยได้ง่าย เมื่อสระผมแล้วอย่ารีบล้างแบบลวก ๆ ควรล้างให้สะอาดเพราะอาจมีสารเคมีตกค้าง และที่สำคัญ อย่าเกาหรือขยี้แรง หลีกเลี่ยงการใช้เล็บ แนะนำให้ใช้นิ้วมือนวดเบาๆ จะดีกว่า
  • ทานอาหารบำรุง เราสามารถบำรุงหนังศีรษะด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อเส้นผมและหนังศีรษะ นั่นก็คือ สารอาหารในกลุ่มสังกะสี วิตามินบี วิตามินซี และวิตามินอี ซึ่งสามารถพบในผักใบเขียว ผลไม้รสเปรี้ยว รวมถึงน้ำมันบริโภค เป็นต้น

อ้างอิง – 4 ข้อ ขอเลย… รับรองรังแคหายชัวร์ เชื่อสิ!

แล้วถ้าเป็น “โรคสะเก็ดเงิน” ต้องดูแลและรักษาอย่างไร

โดย พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์

  1. ถ้าเป็นผื่นไม่มากรักษาโดยใช้ยาทา หากไม่ดีขึ้นอาจใช้ร่วมกับการฉายแสงอัลตราไวโอเลต ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาจให้ยารับประทานร่วมด้วย โดยยาที่ใช้ต้องมาจากใบสั่งของแพทย์เท่านั้น
  2. ทาครีมหรือโลชั่นให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวเป็นประจำทุกวัน เพื่อลดอาการผิวแห้ง
  3. ใช้สบู่อ่อนๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการระคายเคืองของผิวหนัง
  4. ห้ามใช้น้ำยาฆ่าเชื้อในการทำความสะอาดผิว เพราะโรคสะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อ และน้ำยาฆ่าเชื้อจะทำให้เกิดการระคายเคืองและผื่นกำเริบ
  5. อย่าเกา หรือพยายามแกะสะเก็ดออกจากผื่น เพราะจะทำให้เลือดออกและผื่นกำเริบได้

อ้างอิง – วิธีดูแลตัวเองของผู้ป่วย “สะเก็ดเงิน” บาดแผลเล็กน้อยก็เสี่ยง!


สิ่งสำคัญคือ เมื่อเพื่อนๆ เริ่มมีอาการคนศีรษะ หนังศีรษะลอกเป็นขุยมากกว่าปกติ โดยที่เราไม่ได้มีพฤติกรรมความเสี่ยงอย่างการนอนทั้งที่ผมยังไม่แห้ง เป็นต้น ให้ไปพบแพทย์เพื่อรักษาจะดีที่สุดนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *