ซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีน ทำให้สารคัดหลั่ง ได้แก่ น้ำมูก เหงื่อ น้ำย่อย ของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเหนียวข้นขึ้น ก่อให้เกิดการอุดตันของสารคัดหลั่งในท่อต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดอาการป่วยในระบบต่าง ๆ ที่น่ากังวล คือ ปัจจุบันโรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
อาการของโรคซิสติกไฟโบรซิส มีแนวโน้มปรากฏตั้งแต่ผู้ป่วยยังเป็นเด็ก เช่น ลำไส้ไม่ทำงานในช่วง 1-2 วันหลังคลอด มีเหงื่อเค็มมากกว่าปกติ น้ำหนักตัวน้อย เจริญเติบโตช้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจไม่พบอาการจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยอาการของโรคจะแตกต่างกันไปตามอายุและความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งอาการส่วนใหญ่มักส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบย่อยอาหาร และระบบสืบพันธุ์ ดังนี้
1. ระบบทางเดินหายใจ เช่น ไออย่างต่อเนื่องและมีเสมหะ คัดจมูก จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง หอบหืด หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด อดทนต่อความเหนื่อยระหว่างการออกกำลังกายได้น้อย การติดเชื้อในปอดกำเริบ ปอดบวมบ่อย ๆ
2. ระบบทางเดินอาหาร เมือกเหนียวข้นอาจขัดขวางการย่อยอาหาร ส่งผลให้ลำไส้เล็กไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น น้ำหนักตัวน้อย ท้องอืด ปวดท้อง ลำไส้อุดตันโดยเฉพาะในทารกแรกเกิด
ท้องผูกอย่างเรื้อรังหรือรุนแรง อุจจาระมีกลิ่นเหม็นและเป็นคราบมัน ภาวะดีซ่าน เป็นต้น
3. ระบบสืบพันธุ์ เช่น ภาวะมีบุตรยากในเพศชาย เกิดถุงน้ำในอัณฑะ ภาวะอัณฑะค้างหรืออัณฑะไม่ลงถุง เติบโตเป็นหนุ่มสาวช้า ภาวะขาดประจำเดือน เป็นต้น
นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่น ๆ เช่น ไซนัสอักเสบ พบติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อขนาดเล็กในจมูก ริดสีดวงจมูก ภาวะกระดูกบาง ข้ออักเสบ ท่อน้ำดีในตับอุดตัน ปัสสาวะเล็ด ภาวะนิ้วตะบองซึ่งปลายนิ้วจะบวมโตขึ้นผิดปกติในขณะที่เล็บจะโก่งนูนขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนโรคซิสติกไฟโบรซิส
1. ภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคหลอดลมอักเสบ, การติดเชื้อเรื้อรัง, ติ่งเนื้อในจมูก, โรคไซนัสอักเสบ, ไอเป็นเลือด, ปอดรั่ว, ไอเป็นเลือด, ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ และภาวะหายใจล้มเหลวซึ่งเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้
2. ภาวะแทรกซ้อนในระบบย่อยอาหาร ได้แก่ ขาดสารอาหาร, โรคเบาหวาน, โรคตับ, ท่อน้ำดีอุดตัน, โรคลำไส้อุดตัน
3. ภาวะแทรกซ้อนในระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ ภาวะมีบุตรยาก
นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้แก่ โรคกระดูกพรุน, ภาวะขาดน้ำ, ปัญหาสุขภาพจิต
เพื่อบรรเทาเสมหะซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของโรคซิสติกไฟโบรซิส ขอแนะนำ เฟลมเม็กซ์-เอซี โอดี (Flemex-AC OD) เม็ดฟู่ละลายเสมหะ 1 เม็ด มีตัวยา Acetylcysteine 600 มิลลิกรัม ใช้เพื่อช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะ ทำให้ร่างกายกำจัดเสมหะได้ง่ายขึ้น บรรเทาอาการไอและเจ็บคอ มีสรรพคุณช่วยแก้พิษพาราเซตามอลหรือลดความเป็นพิษต่อตับจากการได้รับยาพาราฯเกินขนาด ลดการอักเสบในปอด ช่วยกำจัดสารพิษและสารอนุมูลอิสระ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านเชื้อไวรัสและสารอนุมูลอิสระ รับประทานวันละ 1 ครั้ง โดยละลายยาในน้ำ 1 แก้ว รอให้เม็ดยาละลายดี ฟองฟู่หมดแล้วจึงรับประทาน
ย้ำกันอีกครั้ง ปัจจุบันโรคซิสติกไฟโบรซิสยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงบรรเทาอาการ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตผู้ป่วย และลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาการและแผนการรักษาอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล