ผวา… นิ่วที่ตา ขึ้นได้โดยไร้สาเหตุ!

0

“หินปูนเยื่อตา” หรือ “นิ่วเยื่อตา”

Conjunctival Concretion คืออาการที่จะมีตุ่มหรือเม็ดเล็กๆขนาดน้อยกว่า 1-3 มิลลิเมตร ค่อนข้างแข็ง สีขาวอมเหลือง คล้ายผลึกที่ทึบแสง อาจพบเม็ดเดียวหรือหลายเม็ดอยู่ที่เยื่อตา มักพบที่เยื่อตาที่บุเปลือกตา หรือบริเวณร่องเยื่อบุตา 

ตุ่มนี้ไม่มีหลอดเลือดล้อมรอบ มักจะอยู่ใต้ชั้นเยื่อบุผิวของเยื่อบุตา เป็นผลจากการเสื่อมของเซลล์เยื่อบุผิวของเยื่อบุตา ก่อให้เกิดเป็นถุง/ซีสต์ ในตอนแรก เซลล์เยื่อบุผิวที่เสื่อม ตลอดจนสารเคอราทินที่เกิดขึ้นที่เยื่อบุผิวจะสะสมอยู่ภายในซีสต์ บางซีสต์อาจมีแคลเซียมเข้ามาเติมเล็กน้อย ทำให้มีความแข็ง การที่เรียกกันว่า หินปูนหรือนิ่ว คงเนื่องจากตุ่มนี้ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง คล้ายมีเศษหินอยู่ในตา ไม่ได้เป็นเพราะมีแคลเซียมมาจับแต่อย่างใด

Peeking

สาเหตุที่ทำให้เกิดหินปูนเยื่อตา ได้แก่…

  1. มีการอักเสบของเยื่อตา/เยื่อบุตาเรื้อรัง จึงมักพบในผู้ป่วยเป็นโรคริดสีดวงตาซ้ำๆ ตลอดจนผู้มีเยื่อบุตาอักเสบจากโรคภูมิแพ้ ที่มักเป็นแล้วเป็นอีก และในผู้ใช้คอนแทคเลนส์นานๆ
  2. เป็นความเสื่อมของเยื่อบุตาตามอายุ จึงมักพบในผู้สูงอายุ
  3. นอกจากนี้การเกิดหินปูนเยื่อตายังสามารถเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุได้ด้วย

ส่วนมากของผู้ป่วยที่มีหินปูนเยื่อตา จะไม่มีอาการผิดปกติเลย ส่วนอาการที่เกิดกับผู้ป่วยบางราย ได้แก่ ระคายเคืองตา, มีอาการคล้ายผงเข้าตา, เจ็บปวดตา, น้ำตาไหล, ตาแห้ง, หนังตาอักเสบได้, พบตุ่มขนาดเล็กดังกล่าวสีขาว เหลืองที่เยื่อบุตาส่วนใหญ่ของหินปูนเยื่อตา ไม่ก่อให้มีอาการ ซึ่งถ้าไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นต้องรักษาหากมีอาการเล็กๆ น้อยๆ อาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตา ช่วยลดอาการระคายเคืองตา หรือ ตาแห้ง หรืออาจไปพบจักษุแพทย์เพื่อรักษาให้ตรงอาการของโรคอย่างปลอดภัย

หากพบตุ่มเล็กๆ ในเยื่อตา โดยไม่มีอาการ ก็คอยสังเกต ถ้ามีอาการระคายเคืองหรือตุ่มใหญ่ขึ้น หรือไม่แน่ใจว่าเป็นตุ่มหินปูน ควรปรึกษาให้จักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ที่สำคัญเมื่อมีเยื่อตาอักเสบ ต้องรีบรักษาเยื่อตาที่อักเสบให้หายโดยไว อย่าปล่อยให้เป็นเรื้อรัง จนนำไปสู่การเกิดหินปูนเยื่อตา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *