“โรคความดันโลหิตสูง” เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ไม่มียารักษาให้หายขาด ปัจจุบันคนทั่วโลกเป็นโรคความดันโลหิตสูง 1.5 พันล้านคนและเสียชีวิตจากโรคนี้สูงถึง 7 ล้านคนในแต่ละปี
ฉะนั้น การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ควรละเลย โดยเราสามารถเช็คความเสี่ยงของโรคต่างๆ ได้ด้วย “ค่าระดับความดันโลหิต”
เกณฑ์ในการแบ่งค่าระดับความดันโลหิต (มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท) ในผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
- ระดับความดันโลหิต น้อยกว่า 120 และ น้อยกว่า 80 ถือว่าปกติ ยังไม่เป็นโรค แต่มีโอกาสเสี่ยง ให้นัดตรวจซ้ำอีก และควรตรวจวัดความดันทุกปี 1–3 ปีข้างหน้า
- ระดับความดันโลหิต วัดครั้งที่ 1 มากกว่าหรือเท่ากับ 120 / มากกว่าหรือเท่ากับ 80 วัดครั้งที่ 2 มากกว่าหรือเท่ากับ 120-139 หรือ มากกว่าหรือเท่ากับ 80-89 ถือว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงใน 10 ปี และเริ่มมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยเฉพาะเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย จึงต้องได้รับการคัดกรองเพื่อเป็นการเฝ้าระวังโอกาสเสี่ยงต่อกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้ ควรปรับพฤติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
- ระดับความดันโลหิต มากกว่าหรือเท่ากับ 140 หรือ 90 ให้สงสัยว่าเป็นความดันโลหิตสูง มีโอกาสเสี่ยงต่อกลุ่มโรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยเฉพาะเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย จึงต้องได้รับการคัดกรองโอกาสเสี่ยงต่อกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้ ควรมีการตรวจซ้ำเพื่อยับยั้ง ณ สถานบริการสาธารณสุข
- ถ้ามีค่าความดันโลหิต 140-159 หรือ 90-99 ถือเป็นความดันโลหิตสูง ในระยะที่ 1
- ถ้ามีค่าความดันโลหิต 160 ขึ้นไป หรือ 100 ขึ้นไป ถือเป็นความดันโลหิตสูง ในระยะที่ 2
แพทย์วินิจฉัยยืนยันว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ถือว่ามีโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์ อัมพาต ดังนั้น ควรดูแลสุขภาพให้ดี เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคเหล่านี้ค่ะ