“ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ” ร้ายแรงหรือไม่? ใครเสี่ยง?

0

เป็นอีกหนึ่งอาการที่พบกันประปรายและนำมาซึ่งคำถามว่าก้อนนูนปูดขึ้นมาที่ข้อมือ (รวมถึงอาจขึ้นบริเวณข้อนิ้ว) เป็นอันตรายไหม รวมถึงเกิดขึ้นได้อย่างไร เรามาค้นหาคำตอบพร้อมๆ กัน

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ (Carpal ganglion)

มักพบด้านหลังของข้อมือ ด้านหน้าของข้อมือ บริเวณใกล้ๆ กับโคนนิ้วหัวแม่มือ หรือบริเวณข้อนิ้วลักษณะก้อนจะกลม เรียบ และค่อนข้างแข็งถ้าเอาไฟฉายส่องเข้าไปจะพบลักษณะโปร่งเนื่องจากภายในจะเป็นของเหลวมีลักษณะเหนียวข้น

carpal-ganglion

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการเจ็บปวด แต่รู้สึกไม่สบายเมื่อเคลื่อนไหวหรือหากมีอาการจะเนื่องมาจากการกดทับเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้มีอาการปวด ชา หรือมือไม่มีแรงอาจมีอาการเมื่อย ปวดข้อมือรบกวน การเคลื่อนไหวมือข้อมือลำบาก เนื่องจากก้อนถุงน้ำไปกดเบียด เส้นเอ็นหรือเยื่อบุข้อ กรณีที่ก้อนซีสต์ติดกับเส้นเอ็นจะทำให้รู้สึกว่านิ้วที่มีผลกระทบนั้นอ่อนแอลงได้

สาเหตุของก้อนถุงน้ำที่ข้อมือนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดแต่เชื่อว่าเกิดจากการบาดเจ็บการใช้ข้อมือเคลื่อนไหว…

โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวในท่ากระดกข้อมือเป็นเวลานานถุงน้ำส่วนใหญ่พบในผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชายช่วงอายุ 20 – 40 ปีโดยที่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีการเกิดถุงน้ำคือข้อเสื่อม การที่ข้อเสื่อมจะทำให้มีน้ำในข้อมากขึ้น และสามารถดันออกมาจนกลายเป็นถุงน้ำการบาดเจ็บของข้อและเส้นเอ็นที่มือและเท้า

ในส่วนของการรักษานั้น แบ่งออกเป็น

  1. วิธีไม่ผ่าตัด เนื่องจากก้อนถุงน้ำนี้ไม่ใช่เนื้อร้าย หากไม่มีอาการอะไรมากก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรควรลดการใช้ข้อมือ หากมีการเคลื่อนไหวมากก็จะทำให้น้ำใน cyst เพิ่มขึ้น ถ้ามีอาการปวดมากให้รับประทานยาแก้ปวดลดการอักเสบ ใช้ผ้ายืดพันรอบข้อมือ หรือใส่เฝือกอ่อนประมาณ 1 สัปดาห์
  2. วิธีกดทำให้ก้อนแตก หรือ วิธีเจาะดูดน้ำในก้อนออก
  3. วิธีผ่าตัด ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะการผ่าตัดเลาะถุงน้ำออก ถ้าเลาะไม่หมดหรือ รอยเข็มที่เย็บปิดรูรั่ว ก็อาจจะเป็นซ้ำได้(การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดจะมีโอกาสเป็นซ้ำประมาณร้อยละ5-15 )

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *