โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmia) เป็นภาวะที่หัวใจเต้นไม่เป็นไปตามจังหวะธรรมชาติ โดยอาจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป ซึ่งเป็นผลมาจากกระแสไฟฟ้าในหัวใจเปลี่ยนไป อาจส่งสัญญาณเร็วเกินไป มากเกินไป หรือในบางครั้งเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ
ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีผลให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งเป็นอันตรายได้
“โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ” ไม่มีสาเหตุที่เกิดอย่างแท้จริง อาจเกิดจากจุดกำเนิดไฟฟ้าภายในหัวใจทำงานผิดปกติ หรือ เกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในหัวใจ ซึ่งมักจะเป็นมาแต่กำเนิด และสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยทั่วไปมักแสดงอาการเมื่ออายุ 20-40 ปีขึ้นไป โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. หัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีอัตราการเต้นของหัวใจช้าผิดปกติ คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที
2. หัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วผิดปกติ คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 60 ครั้ง/นาที
หากมีอาการผิดปกติ เช่น วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่นบริเวณหน้าอก หายใจขัด เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก เป็นลมหมดสติ ควรรีบมาพบแพทย์ทันที แต่สิ่งที่มักเป็นปัญหาคือ ผู้ป่วยโรคนี้หลายรายมักไม่มีอาการปรากฏ ทำให้ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคนี้ จะทราบก็ต่อเมื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพหรือป่วยด้วยโรคอื่นแล้วมาพบแพทย์
การป้องกันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
1.ลดยาบางชนิดผู้ที่มีโรคประจำตัวและต้องกินยาต่อเนื่อง อาจมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของยา ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ว่าสามารถลดยาหรือเปลี่ยนชนิดของยาได้หรือไม่
2. งดเครื่องดื่มคาเฟอีนอาทิ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม เนื่องจากในเครื่องดื่มมีสารกระตุ้นทำให้จุดกำเนิดไฟฟ้าหรือกล้ามเนื้อหัวใจที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดการลัดวงจารทำงานผิดปกติได้เร็วขึ้น
3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเป็นการทำให้หัวใจได้รับการพักผ่อนและทำงานน้อยลง เป็นการรักษาหัวใจให้แข็งแรงและสูบฉีดเลือดได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ดูแลสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
5. รักษาสุขภาพจิตให้อารมณ์ดี ไม่เครียด คนที่ทำงานหนักและมีความเครียดสูงๆ คือกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติมากที่สุด เพราะความเครียดจะไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้