โดยธรรมชาติเมื่อแรกเกิด ขาของเราทุกคนจะโก่งมาก่อน ต่อมาเมื่อเข้าสู่วัยเด็กเล็ก ขาจะเริ่มตรง และเมื่อเข้าสู่วัยเด็กโตขาจะเริ่มกลับมาตรงอีกครั้ง เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น องศาของขาที่ปรากฏจะเป็นไปตามพันธุกรรมที่คุณพ่อคุณแม่ให้มา
“ขาโก่ง”
Bow legs, Genu Varum ภาวะที่ขาทั้งสองข้างโค้งออกนอกแนวตรงของขา คือ เมื่อยืนตรงส้นเท้าสองข้างชิดกันแล้ว เข่าทั้งสองข้างไม่สามารถเข้ามาชนกันได้ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างขาทั้งสองข้าง โดยสาเหตุของขาโก่งผิดรูปมีหลายกรณี เช่น ขาโก่งตามธรรมชาติ ภาวะเข่าเสื่อมในคนสูงอายุ การได้รับอุบัติเหตุกระดูกขาหัก เป็นต้น
การพยายามดัดขาลูกตั้งแต่เล็ก หรือหลีกเลี่ยงการอุ้มลูกเข้าบั้นเอว เพราะเชื่อว่าจะป้องกันภาวะขาโก่งได้ ทางการแพทย์ได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่เป็นความจริง
นอกจากนี้ยังพบว่า คนที่ขาโก่งไม่ได้มีสมรรถนะในการวิ่งหรือการออกกำลังกายด้อยกว่าคนขาตรงแต่อย่างใด
นอกจากปัญหาความไม่มั่นใจเพราะขาโก่งจึงต้องหาวิธีรักษาแก้ไข หากไม่ได้รู้สึกว่าการที่ขาโก่งจะเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต จะปล่อยไว้เฉยๆ โดยไม่ผ่าตัดก็ได้ แต่ส่วนใหญ่อาการขาโก่งมักนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งอาจลุกลามไปใหญ่โต หากไม่รีบทำการรักษา คำถามคือเมื่อไหร่ต้องผ่าตัดแก้ไขขาโก่ง?
1. เมื่อเข่าทั้งสองข้างโก่งไม่เท่ากัน
เข่าที่โก่งไม่เท่ากันทำให้ขายาวไม่เท่ากัน เวลาเดินจะทำให้ตัวโยกเยก รองเท้าที่ใส่จะสึกที่ส้นไม่เท่ากัน เมื่อเดินโยกเยกมากๆ เดินไกลๆ หรือยืนนานๆ นำไปสู่อาการปวดหลังเรื้อรังตามมา
2. เมื่อมีอาการปวดเข่าเรื้อรัง และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ
จุดปวดมักอยู่บริเวณด้านในของเข่าทั้งสองข้าง อาจเริ่มปวดเข่าข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วจึงลุกลามไปอีกข้าง อาการมักรุนแรงเมื่อใช้งานหนัก เช่น เดินไกล ใส่ส้นสูง เล่นกีฬาที่ต้องเดินนาน หรือวิ่งกระแทกแรงๆ
3. เมื่อความโก่งของเข่าเพิ่มมากขึ้นทุกปี
ผู้ป่วยที่มีอาการเช่นนี้จึงมักได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเข่าข้างที่โก่งน้อยกว่าแต่ปวดมากก่อน
4. เมื่อมุมเข่าโก่งมาก
เมื่อวัดมุมโก่งของเข่าจากภาพเอกซเรย์ของคนปกติอาจอยู่ที่ 0 ถึง 3 องศา แต่สำหรับคนที่มีปัญหาอาจมีมุมเข่าโก่งมากในช่วง 8 ถึง 10 องศา ทำให้ใช้งานไม่สะดวก เกิดอาการปวดข้อเข่าและข้อเท้ามาก
ตามนี้เลยนะคะ 🙂