รู้จัก “โรคผื่นแพ้เหงื่อ” ภัยผิวหนังใกล้ตัว

0

การออกกำลังกาย ถือเป็นกุญแจสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้สุขภาพของเราแข็งแรง ห่างไกลโรค ขณะที่ออกกำลังกาย

เหงื่อของเราจะไหลออกมาทั่วร่างกาย ทำให้หลายคนรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า แต่บางคนกลับไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากมีอาการแพ้จนเกิดผื่นบนร่างกาย หรือที่เรียกกันว่า “โรคผื่นแพ้เหงื่อ”

โรคผื่นแพ้เหงื่อ คือ ลมพิษชนิดหนึ่ง โดยมีสาเหตุเกิดจากการความร้อนเข้าไปกระตุ้นการทำงานของต่อมเหงื่อ ทำให้เหงื่อออกมาพร้อมกับการเกิดผื่น เช่น การออกกำลังกายขณะอากาศร้อนจัด การสวมเสื้อผ้าที่คับแน่นหรือไม่ระบายอากาศ บางรายอาจเกิดการแพ้จากการที่ร่างกายแอนติบอดี้ต่อเหงื่อของตัวเอง จึงทำให้เกิดเป็นผื่นลมพิษ อาการผื่นแพ้

อาการแพ้เหงื่อเป็นอาการที่เกิดค่อนข้างเฉียบพลันเมื่อเริ่มมีเหงื่อ โดยเป็นผื่นแดง ลักษณะเป็นปื้นแดง หรือหนานูนเป็นวงกลม อาจมีอาการคัน และระคายเคืองผิวหนังช่วงที่เหงื่อออก โดยเฉพาะบริเวณคอ และข้อพับ เช่น แขน ขา หรือรักแร้ หรืออาจรู้สึกเจ็บแปลบ บริเวณที่มีผื่น อาจรู้สึกอุ่น ๆ และอาจบวมแดง

อาการผื่นแพ้เหงื่อสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคผื่นแพ้เหงื่อ ได้แก่

– เป็นโรคหืด

– มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น ภูมิแพ้อากาศหรือภูมิแพ้ผิวหนัง

– มีประวัติคนในครอบครัวเป็นภูมิแพ้

วิธีรักษาโรคผื่นแพ้เหงื่อโดยการใช้ยา

เมื่อเกิดอาการแพ้เหงื่อส่วนใหญ่แพทย์มักสั่งยาเพื่อลดอาการกำเริบ เช่น

– ยาแก้แพ้ หรือยาเซทิริน ที่มีผลช่วยออกฤทธิ์ในการขัดขวางสารฮีสตามีนที่ช่วยอาการแพ้ลดลง

– ยาที่มีส่วนผสมของซิงก์ออกไซด์กับเฟอร์ริกออกไซด์ ซึ่งเป็นยาบรรเทาอาการระคายเคืองของผิวหนัง ออกฤทธิ์ช่วยปกป้องผิวจากสารก่อความระคายเคืองและความชื้น

– ยาคีโตไตเฟน ซึ่งเป็นยาที่ช่วยลดปริมาณเหงื่อได้อย่างดี

– ยาโพรพราโนลอล ซึ่งเป็นยาที่มักใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงและกระตุ้นการอาการแพ้เหงื่อลดลง

วิธีป้องกันโรคผื่นแพ้เหงื่อ

– หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายขณะที่อากาศร้อนจัด หรือการทำกิจกรรมกลางแจ้ง

– อาบน้ำชำระร่างกายบ่อย ๆ โดยหลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น หรือใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำถูตัวทุกครั้งที่รู้สึกร้อน

– ทาแป้งเย็น แป้งน้ำ หรือโลชั่น

– สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ไม่คับแน่น

– เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ ไม่ผสมสารเคมี และน้ำหอม แต่หากเกิดอาการแพ้ ควรหยุดใช้และปรึกษาแพทย์

– หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด หรืออาหารร้อนจัด และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมักทำให้เกิดเหงื่อออก

แม้ว่าอาการของโรคผื่นแพ้เหงื่อจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เราสามารถปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคผื่นแพ้เหงื่อได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *