ระวัง! 6 ปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้ผื่นลมพิษเห่อขึ้น

0

แม้คนส่วนใหญ่จะรู้จักโรคลมพิษ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าโรคลมพิษแบ่งออกได้หลายประเภท ทั้งยังมีความรุนแรงของอาการที่แตกต่างกัน ที่สำคัญหลายคนไม่ทราบว่าการกระทำหรือปัจจัยบางอย่าง อาจกระตุ้นให้ผื่นลมพิษเห่อขึ้น ไม่อยากเสี่ยงกับโรคลมพิษและอาการที่ทรุดหนักไปรู้จักโรคนี้แบบเจาะลึกกันเถอะ

ศ.พญ.กนกวลัย กุลทนันทน์ หัวหน้าภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ว่า โรคลมพิษ (Urticaria) เป็นโรคที่ผิวหนังมีลักษณะเป็นผื่นหรือปื้นนูนแดงไม่มีขุย มีขนาดต่าง ๆ ได้ตั้งแต่เล็กถึงใหญ่ มีอาการคัน เกิดขึ้นเร็วและกระจายได้ทั่วตัว แต่ละผื่นมักจะคงอยู่ไม่นาน โดยมากมักไม่เกิน 24 ชั่วโมงผื่นนั้นก็จะราบไปโดยไม่มีร่องรอย แต่ก็อาจมีผื่นใหม่ขึ้นที่อื่น ๆ ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีริมฝีปากบวม ตาบวม ในบางรายอาจมีอาการปวดท้อง แน่นจมูก คอ หายใจไม่สะดวก รายที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการหอบหืด เป็นลมจากความดันโลหิตต่ำได้

itching

แต่ผู้ป่วยกลุ่มที่เป็นรุนแรงนี้ มีจำนวนน้อย โดยโรคลมพิษแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ

  1. โรคลมพิษเฉียบพลัน คือ ผื่นลมพิษเป็นมาไม่เกิน 6 สัปดาห์
  2. โรคลมพิษเรื้อรังคือมีอาการเป็นๆ หายๆ อย่างน้อย 2 ครั้ง/สัปดาห์ แต่มีอาการอย่างต่อเนื่องนานถึง 6 สัปดาห์ขึ้นไป

6 ปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้ผื่นลมพิษเห่อขึ้น ได้แก่…

  1. อาหาร ผู้ป่วยที่มีผื่นลมพิษเรื้อรังบางราย อาจมีอาการลมพิษเห่อขึ้นเมื่อรับประทานอาหารบางชนิด
  2. ยา ยาบางชนิดเช่น ยาต้านอักเสบ (NSAIDs) แอสไพริน อาจทำให้ผื่นลมพิษเห่อขึ้นได้ ประมาณร้อยละ 20-30 ของผู้ป่วยโรคลมพิษเรื้อรังในช่วงที่โรคกำลังเป็นมาก
  3. ตัวกระตุ้นทางกายภาพ เช่น การกดรัดของเสื้อผ้าที่เป็นผ้ายืดหรือเข็มขัด ก็อาจทำให้ผื่นลมพิษเห่อขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย
  4. แอลกฮอลล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์สามารถกระตุ้นให้ผื่นลมพิษเห่อได้ เนื่องจากแอลกอฮอลล์จะทำให้หลอดเลือดมีการขยายตัวขึ้น
  5. การติดเชื้อไวรัส อาจทำให้ผื่นลมพิษเห่อขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย
  6. ความเครียด อาจทำให้ผื่นลมพิษเห่อขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย ขณะเดียวกันโรคลมพิษเองก็ทำให้ผู้ป่วยมีความเครียดด้วยเช่นกัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *