อย่าเพิ่งตั้งแง่… ”โรคทางจิตเวช” รักษาได้ ยิ่งเร็วยิ่งดี

0

หลายคนอาจยังไม่ค่อยเข้าใจ หรืออาจเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเวช โดยส่วนหนึ่งอาจมองว่า การป่วยเป็นการเสแสร้งแกล้งทำ เรียกร้องความสนใจ ส่วนผู้ป่วยที่เคยมีพฤติกรรมรุนแรงมาก่อน ก็ถูกมองว่าเป็นตัวอันตรายไปตลอดชีวิต เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยไม่กล้าเข้ารับการรักษา ทั้งๆ ที่ ในความเป็นจริงโรคนี้รักษาได้

Woman covering face with hands.

โรคทางจิตเวชเป็นโรคเรื้อรังและเป็นโรคทางสมองอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยควบคุมตนเองได้ไม่ดี แบ่งออกได้หลายกลุ่มตามลักษณะและความรุนแรงของการแสดงออก ได้แก่

  1. กลุ่มวิตกกังวล
  2. กลุ่มซึมเศร้าและอารมณ์แปรปรวน
  3. กลุ่มโรคจิต

ที่พบบ่อย เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ โรควิตกกังวล ออทิซึม ความผิดปกติที่เกิดจากการใช้สารเสพติด และโรคสมองเสื่อม เป็นต้น ซึ่งต้องดูแลตัวเองอย่างต่อเนื่องและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ยิ่งเข้ารับการรักษา แต่เนิ่นๆ ได้เร็วเท่าไร ยิ่งดี และเมื่ออาการดีขึ้นแล้ว ต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง

หัวใจสำคัญในการดูแลและอยู่ร่วมกับผู้ป่วยจิตเวช อยู่ที่การดูแลไม่ให้ขาดยาเป็นอันขาด ต้องเข้าใจและยอมรับว่า การป่วยทางจิตไม่ต่างจากการป่วยทางกาย ที่ต้องได้รับการดูแลรักษา ที่สำคัญ ต้องช่วยกัน ลดอคติ ไม่รังเกียจ ให้อภัย ไม่ถือโทษโกรธเคือง ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษา ทั้งนี้ หากเกิดสภาพแวดล้อมที่แปลกแยก หรือ กดดัน กีดกัน รังเกียจ จะยิ่งเพิ่มปัญหาต่อการรักษามากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเกิดความกดดัน ปลีกตัว อาการกำเริบ หรืออาละวาดขึ้นมาได้ และที่ต้องระวังคือ อย่าให้ผู้ป่วยใช้สารเสพติด โดยเฉพาะยาบ้าและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะจะทำให้อาการทางจิตกำเริบรุนแรงมากยิ่งขึ้น

Holding hand

Holding hand

ข้อสังเกตเบื้องต้นของผู้ป่วยจิตเวช คือ ผู้ป่วยจะมีความคิดพฤติกรรมที่ผิดปกติ ไม่เหมาะสม ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ลักษณะท่าทาง สีหน้า แววตา ดูแตกต่างจากคนทั่วไป หากพบผู้มีลักษณะเช่นนี้ ขอให้หยุดนิ่ง เพื่อไม่ให้เป็นสิ่งเร้าไปกระตุ้นให้เกิดอาการหรือปฏิกิริยาตอบโต้รุนแรง ให้โทรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อนำตัวเข้าสู่ระบบการดูแลรักษา

ทั้งนี้ผู้ป่วยจิตเวชสามารถรักษาให้หายกลับคืนสู่สังคมได้อย่างมีคุณค่า ขอเพียงเข้าใจ ยอมรับ และให้โอกาส

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *