ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีภาวะ “เกล็ดเลือดต่ำ”

0

เกล็ดเลือด” มีหน้าที่ทำให้เลือดอยู่ในภาวะปกติ ไม่เกิดเลือดออกง่าย แต่หยุดยาก โดยจำนวนและหน้าที่ของเกล็ดเลือดต้องปกติ เมื่อ “เกล็ดเลือดต่ำ” เพียงเล็กน้อยอาจไม่มีอาการอะไรเลย ไม่มีเลือดออกที่ใด แต่เมื่อเกล็ดเลือดต่ำถึงระดับหนึ่ง จะมีอาการเลือดออกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และอาจรุนแรงถึงขั้นที่ต้องรีบไปโรงพยาบาลด่วน เนื่องจากอาจมีเลือดออกในสมอง

ค่าปกติของเกล็ดเลือดคือ 150,000 ถึง 450,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร จะเรียกว่ามีภาวะเกล็ดเลือดต่ำเมื่อเกล็ดเลือดมีจำนวนน้อยกว่า 150,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร

และเมื่อเกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร จะมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะเลือดออก โอกาสที่เลือดจะออกได้เองโดยไม่มีบาดแผล เกิดเมื่อเกล็ดเลือดเหลือน้อยกว่า 20,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร

Woman who had a headache

“เกล็ดเลือดต่ำ” เกิดจากสาเหตุสำคัญ 5 อย่างคือ…

  1. ร่างกายสร้างจากไขกระดูกได้น้อย เนื่องจากป่วยเป็นโรคมะเร็งบางชนิด หรือเกล็ดเลือดต่ำจากยาบางชนิดที่ไปกดการสร้างเม็ดเลือดที่ไขกระดูก
  2. เกล็ดเลือดถูกทำลายมากจากโรคเอสแอลอีหรือจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด
  3. เกล็ดเลือดถูกบีบไปอยู่ในที่หนึ่งที่ใดมากเกินไป ส่งผลให้เกล็ดเลือดในกระแสเลือดลดลง
  4. ร่างกายมีการใช้เกล็ดเลือดมากเกินไป
  5. เกล็ดเลือดต่ำเพราะมีปริมาณน้ำในร่างกายมาก

เมื่อมีเกล็ดเลือดต่ำควรใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะการกระทำที่เสี่ยงต่อการกระทบกระแทกอย่างแรง เช่น ขี่มอเตอร์ไซค์ หรือการปีนขึ้นไปทำงานในที่สูง เสี่ยงต่อการตกลงมา มีเลือดออกมาก ระวังการใช้ของมีคม หรือแม้กระทั่งกิจวัตรประจำวันอย่างการแปรงฟัน ต้องเลือกแปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่มมากๆ และต้องแปรงค่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดแผลในช่องปาก นำไปสู่การเกิดเลือดออก

ที่สำคัญก่อนจะเข้ารับการรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้แก่ ถอนฟัน ฉีดยา ควรปรึกษาแพทย์ก่อน และควรแจ้งต่อผู้เกี่ยวข้องว่า ตนมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *