อันตราย… ยาที่ไม่ใช้แล้ว ทิ้งเฉยๆ ไม่ได้นะ!

0

บ่อยครั้งทีเดียวที่เรากินยาที่ได้รับมาไม่ครบตามแพทย์สั่ง เนื่องจากรู้สึกว่าหายดีแล้ว หลายคนนำยาที่กินไม่หมด ยาหมดอายุ หรือยาไม่ใช้แล้ว ไปทิ้งลงถังขยะ ทิ้งลงแหล่งน้ำ หรือฝังลงดินโดยไม่ทราบว่ายาบางประเภทมีฤทธิ์ตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อมอย่าปล่อยให้ความมักง่ายส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์

เช็คซิ คุณจัดการยาที่ไม่ใช้แล้วได้ถูกวิธีหรือเปล่า?

Medicines in a pillbox

โดยทั่วไปยาแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ยาทั่วไป ได้แก่

  1. ยาสามัญประจำบ้าน จำพวก ยาแก้ปวด ยาลดไข้
  2. ยาที่มีฤทธิ์ตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม (Environmental Persistent Pharmaceutical pollutants : EPPP) เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคความดันโลหิต เบาหวาน ยารักษาอาการโรคซึมเศร้า รวมทั้ง ฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิด

ซึ่งยาประเภทที่ 2. นี้ จะมีคุณสมบัติที่คงสภาพ ทนทาน โดยฤทธิ์ของยาจะไม่ถูกทำลายด้วยระบบกรองน้ำ ระบบผลิตน้ำประปา หรือระบบบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ยาประเภทดังกล่าว จึงปนเปื้อนในแหล่งน้ำ แล้วมีโอกาสย้อนกลับเข้าสู่ระบบผลิตน้ำดื่ม และน้ำประปา สำหรับการอุปโภค บริโภคในที่สุด ซึ่งในระยะยาวการรับสัมผัสยาที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมอาจส่งผลต่อสุขภาพได้

ข้อควรระวังสำหรับการจัดการยาที่ไม่ใช้แล้วมีดังนี้…

  1. ห้ามส่งต่อยาที่ไม่ใช้แล้วให้ผู้อื่นโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาการป่วยของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน
  2. ห้ามทิ้งลงในถังขยะทั่วไป ห้ามทิ้งลงในแหล่งน้ำ หรือในสิ่งแวดล้อมโดยตรง ห้ามทิ้งยาลงในชักโครกหรือระบบบำบัดน้ำเสีย หรือท่อระบายน้ำทิ้ง เนื่องจากยาบางประเภทมีฤทธิ์ตกค้างยาวนานในแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบนิเวศ และอาจเกิดการปนเปื้อนสู่คนผ่านการหมุนเวียนน้ำมาใช้ในการผลิตน้ำประปาสำหรับอุปโภคบริโภคได้
  3. ห้ามเผาทำลายหรือเจาะตัวบรรจุภัณฑ์ประเภทยาที่อัดความดัน จำพวกยาพ่นรักษาหอบหืด เพราะอาจทำให้เกิดการระเบิดเป็นอันตรายได้ แต่ควรส่งคืนยา ที่เหลือใช้ หมดอายุ หรือไม่ใช้แล้วกลับคืนโรงพยาบาล หรือหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี

ทั้งนี้ ยาสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังที่ได้รับมาในปริมาณหนึ่ง ผู้ป่วยต้องมีวินัยในการกินยาตามแพทย์สั่ง และต้องนำยาส่วนที่เหลือไปให้แพทย์ทำการตรวจสอบปริมาณที่เหลือทุกครั้งที่แพทย์นัด เพื่อเป็นการลดการตกค้าง และสะสมของยาไว้ ที่บ้านและป้องกันไม่ให้มียาเหลือทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *