Category Archives: สารพัดโรค

“ภาวะวัยทองกับเรื่องบนเตียง” สำคัญนะ อย่ามองข้าม!!

“วัยทอง” หรือ “วัยหมดประจำเดือน” ในผู้หญิงจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี โดยเฉลี่ยอายุ 50 ปี เมื่อถึงวัยนี้ รังไข่จะหยุดทำงาน และไม่มีการตกไข่อีกต่อไป ทำให้ไม่มีประจำเดือนและไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงจากรังไข่อีก ฮอร์โมนเพศหญิงที่ขาดหายไปนี้มีชื่อว่าเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน จึงทำให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจต่างๆ ตามมา

เมื่อน้องสาวแห้ง… ภาวะชวนดับฟินของหญิงวัยทอง

ช่องคลอดแห้ง (Vaginal dryness) คือ ภาวะที่ช่องคลอดสตรีไม่มีเมือกมาหล่อลื่นตามปกติ ส่งผลให้รอยย่นของช่องคลอดจะลดลง เยื่อบุช่องคลอดจะเป็นสีแดงมากกว่าเยื่อบุช่องคลอดปกติที่เป็นสีชมพู เมื่อสัมผัสผิวเยื่อบุช่องคลอดในภาวะที่ช่องคลอดแห้ง เลือดจะออกได้ง่าย ภาวะนี้พบได้บ่อยในสตรีวัยหมดประจำเดือน เพราะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน

คันมากจนรำคาญ เช็คให้ดีคุณอาจเป็น “โรคหิด”

“โรคหิด” (Scabies)เป็นโรคติดเชื้อผิวหนังที่พบบ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กโรคหิดเป็นโรคที่เกิดจากปรสิตชนิดหนึ่งชอนไชเข้าผิวหนังทำให้เกิดตุ่มคัน หิดเป็นโรคติดต่อโดยการสัมผัสกันโดยตรง สามารถเกิดที่ผิวหนังได้ทั่วร่างกายนอกจากนั้นโรคนี้ยังติดต่อโดยการจับมือ เสื้อผ้า หรือเครื่องใช้ แม้กระทั่งฝาโถส้วมก็สามารถติดต่อได้ ซึ่งรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ แต่มียาสำหรับรักษาให้หายได้

“โรคกลีบกุหลาบ” ชื่อน่าหลงใหลแต่อาการไม่น่ารักอ่ะ

“โรคกลีบกุหลาบ” (Pityriasisrosea) หรืออีกหลายชื่อที่ถูกเรียก ไม่ว่าจะเป็น โรคผื่นกุหลาบ, โรคผื่นขุยกุหลาบ, โรคผื่นร้อยวันเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบบ่อยในวัยรุ่นและผู้ใหญ่มีผื่นลักษณะเฉพาะ และมีอาการเฉียบพลัน ผื่นจะมีสีชมพูเหมือนสีดอกกุหลาบ จึงเป็นที่มาเรียกว่า “ผื่นขุยกุหลาบ” ส่วนลักษณะผื่นที่เป็นวงรีหรือวงกลมรูปไข่ จึงถูกเรียกว่า “โรคกลีบกุหลาบ”

“กระดูกสันหลังเสื่อม” อายุยิ่งมาก ยิ่งต้องระวัง

กระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis)คือ โรคที่มักเกิดในผู้มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป โดยเกิดจากการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆที่รวมถึงกระดูกสันหลังด้วย กระดูกสันหลังเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อย เหมือนกับบรรดาข้อกระดูกเสื่อมทั้งหลาย เช่น ข้อเข่าเสื่อม ข้อสะโพกเสื่อม

“ภาวะเท้าตก” คืออะไร เป็นแล้วจะรักษาหายมั้ย??

ภาวะเท้าตก (Foot drop)ภาวะที่ผู้ป่วยยกเท้าส่วนหน้า (ส่วนที่เป็นนิ้วเท้า) ขึ้นลำบาก ทำให้เวลาเดินจะเดินลากเท้า โดยเฉพาะเวลาเดินขึ้นบันได กระดกปลายเท้าไม่ขึ้น เดินลากเท้า ยกเท้าไม่พ้นพื้น อาการเดินผิดปกติดังกล่าวไม่ใช่โรค

“เล็บอักเสบ” โรคใกล้ตัวที่ใครๆ ก็ต้องระวัง

“เล็บ” เป็นสิ่งหนึ่งในร่างกายที่สำคัญ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก นับเป็นอวัยวะที่บ่งบอกความสวยงาม รวมถึงบ่งบอกถึงสุขภาพของเรา ณ ขณะนั้นได้ด้วย “เล็บ” ประกอบด้วยเซลล์ของผิวหนังที่ตาย และ เคราติน แต่สามารถเพิ่มความยาวได้ตลอดเวลาอัตราการงอกของเล็บจะมีประมาณ 0.1-0.2 มม. ต่อวันลักษณะเล็บปกติ จะมีสีชมพูอ่อนๆ เรียบเสมอกัน ไม่มีรอยหยัก หรือโค้งงอ

“หูดข้าวสุก” โรคไม่ร้ายแต่กลายเป็นเสียลุค!

โรคหูดข้าวสุก(Molluscumcontagiosum)เป็นโรคที่ยังคงพบได้อยู่สม่ำเสมอ เนื่องจากโรคสามารถติดต่อโดยการสัมผัสทางผิวหนัง อัตราการเกิดโรคพบมากขึ้นในประเทศเขตร้อน โดยโรคหูดข้าวสุกสามารถพบได้ทุกวัยพบมากในเด็กที่ช่วงอายุ 1-10 ปี ส่วนในผู้ใหญ่หูดข้าวสุกที่บริเวณอวัยวะเพศถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง

“คันตา” อาการสุดน่ารำคาญ ที่อาจลุกลามเรื้อรังได้

“คันตา” เป็นอาการที่พบได้บ่อย ซึ่งอาจมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น แสบตา เคืองตา ตาแดง มีขี้ตา อาการเหล่านี้อาจเป็นๆ หายๆ หรือถึงขั้นเรื้อรังได้ ฟังดูอาจเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่น่าจะเป็นเรื่องใหญ่

5 โรคเฝ้าระวังปี 2559 รู้ก่อน ป้องกันทันท่วงที!!

ในรอบปี 2558 มีเหตุการณ์สำคัญหลายเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนไทย ไม่ว่าจะเป็น โรคเมอร์ส ปัญหาหมอกควันจากไฟป่าในอินโดนีเซีย โรคไข้เลือดออก ปัญหาการบาดเจ็บจากการจราจร รวมถึงเหตุการณ์ในต่างประเทศ ได้แก่ โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาทวีปแอฟริกา ไข้หวัดนกในประเทศเพื่อนบ้าน และการเกิดแผ่นดินไหวที่เนปาล ซึ่งล้วนนำมาซึ่งความสูญเสียที่ใครก็ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น