Category Archives: สารพัดโรค

รู้ยัง…”คอพอก” ไม่ร้ายแรงแต่ส่งผลต่อการหายใจ!

ผ่านหูผ่านตากันมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย ทำให้หลายคนคุ้นเคยกันดีกับ “โรคคอพอก” ประมาณว่าจำได้ขึ้นใจว่าการขาดสารไอโอดีนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด “คอพอก” ทราบถึงความเชื่อมโยงของไอโอดีนกับคอพอกกัน แล้วทราบกันหรือเปล่าว่า “โรคคอพอก” สามารถแบ่งแยกประเภทได้มากกว่าหนึ่งชนิด!!

“ลำไส้อุดตัน” อาการไม่น่ากลัวแต่นำไปสู่การเสียชีวิตได้!

“ลำไส้อุดตัน” (Intestinal obstruction)คือ ภาวะที่สิ่งต่างๆในลำไส้ ได้แก่ น้ำ อาหาร น้ำย่อย และของเหลวต่างๆในลำไส้ ไม่สามารถเคลื่อนผ่านลำไส้ได้ตามปกติ จึงก่อให้เกิดอาการแน่นท้อง อึดอัด ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน และไม่ผายลมการอุดตันของลำไส้ อาจเกิดขึ้นทีละน้อยไม่เป็นที่สังเกต จนกระทั่งมีอาการปวดอย่างรุนแรงขึ้น

“นิ่วในไต”ปล่อยไว้ไม่ดูแล ถึงตาย!

เมื่อพูดถึง “โรคนิ่ว” เชื่อว่าเป็นโรคที่แทบทุกคนต้องเคยได้ยินผ่านหูหรืออ่านผ่านตามาบ้างไม่มากก็น้อยเพราะเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากทั่วโลก อีกทั้งยังมีแนวโน้มผู้ป่วยจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยโรคนิ่วนั้นมีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือ นิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะสำหรับ “นิ่วในไต” ที่เราจะเจาะลึกถึงรายละเอียดนี้จัดอยู่ในประเภทหลัง

“โรคขนคุด” ไม่อันตราย แต่ทำเสียความมั่นใจ

โรคขนคุด (Keratosis pilaris) เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายมีลักษณะรูขุมขนที่เป็นตุ่มแข็งนูนขึ้นมาบนผิว และมีเส้นขนแทงขึ้นมาใต้ผิวหนัง แต่ไม่ทะลุออกมา ให้สัมผัสขรุขระเมื่อลูบ แลดูเหมือนหนังไก่ ตุ่มที่เกิดขึ้นอาจมีสีเดียวกับผิว หรือมีสีชมพูไปจนถึงแดง มักพบบริเวณแผ่นหลัง และต้นแขนด้านนอก รวมถึงบริเวณต้นขา สีข้าง สะโพก น่อง หลายครั้งที่ขนคุดถูกเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสิว

“ตากุ้งยิงเรื้อรัง” คืออะไร? ป้องกันได้หรือไม่?

“ตากุ้งยิงเรื้อรัง” หรือ “ตากุ้งยิงด้านใน” (Chalazion)เป็นการอักเสบเรื้อรังที่ไม่มีการติดเชื้อของต่อมบริเวณเปลือกตาหรือหนังตาที่เรียกว่าต่อม Meibomian gland (ต่อมสร้างน้ำมันชนิดพิเศษที่ช่วยลดการระเหยของน้ำตา) หรือต่อม Zeis gland (ต่อมสร้างสารที่มีลักษณะเป็นน้ำมัน) ซึ่งการอักเสบนี้มักจะเห็นหรือคลำได้เป็นก้อน เป็นเม็ดหรือเป็นตุ่มบริเวณหนังตา โดยทั่วไปไม่มีอาการเจ็บปวด ตาไม่แดง

“สิงห์อมควัน-คอเหล้า” กลุ่มเสี่ยงสำคัญของ “โรคมะเร็งลิ้น”

โรคมะเร็งลิ้น (Tongue cancer)จัดรวมอยู่ในโรคมะเร็งช่องปากจากการที่มีธรรมชาติของโรค อาการ การวินิจฉัย ระยะโรค การรักษา เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งลิ้นมักรุนแรงกว่าโรคมะเร็งช่องปากชนิดอื่นๆเพราะเมื่อพบโรค โรคมักอยู่ในระยะลุกลามรุนแรงกว่า เนื่องจากลิ้นเป็นอวัยวะมีหลอดเลือดและระบบน้ำเหลืองมากมายมากกว่าเนื้อเยื่อหรืออวัยวะอื่นๆของช่องปาก

“มาลาเรีย” โรคระบาดที่เป็นปัญหาระดับชาติ

ปัญหาสุขภาพของคนในประเทศถือเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ โดยหนึ่งในการตั้งเป้าหมายเพื่อลดโรคและภัยสุขภาพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ก็คือ ภายในปี 2567 ทุกอำเภอของประเทศปลอดจากมาลาเรีย คำถามที่ตามมาก็คือ “โรคมาลาเรีย” อันตรายแค่ไหน ทำไมถึงกลายเป็นปัญหาระดับประเทศ ว่าแล้วเราก็ไปทำความรู้จักโรคนี้กันดีกว่า..

“ฝีในตับ” โรครุนแรง พบไม่บ่อยแต่เป็นได้ทุกวัย!

โรคฝีในตับ (Liver abscess)คือโรคที่เกิดจากตับติดเชื้อและเกิดมีฝี/หนองขึ้นในตับ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพียงฝีเดียวตำแหน่งเดียว หรือหลายฝีก็ได้ โดยอาจเกิดร่วมกับที่อวัยวะอื่นๆเกิดมีฝีร่วมด้วย หรือเกิดมีฝีเฉพาะในตับก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรคฝีในตับที่พบได้ มีทั้งตับอักเสบชนิดฝีบิดอะมีบาและฝีแบคทีเรียโดยโรคฝีตับเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่พบได้ในทุกวัย

“พังผืดที่จอตา” พบได้แม้ในคนที่ไม่เคยมีโรคตามาก่อน

พังผืดที่จอตา (Epiretinal membrane/Macular pucker) เป็นภาวะที่มีพังผืดชนิดที่ปราศจากหลอดเลือดเกิดขึ้นบนชั้นผิวของจอตา พังผืดนี้อาจมีการขยายตัวดึงรั้งจอตาใกล้ เคียงโดยเฉพาะบริเวณจอตาส่วนกลางหรือจุดภาพชัด (Macula) จึงทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงไม่ปกติหรือการมองเห็นผิดปกติไป

รู้จัก “ไข้ซิกา” โรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ!!

“โรคไข้ซิกา” (Zika fever) เกิดจาการติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika Virus-ZIKV) ไวรัสที่มีสารพันธุกรรมชนิด
อาร์เอ็นเอสายเดี่ยว อยู่ในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี,
ไวรัสเวสต์ไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี มียุงลายเป็นพาหะนำโรค