กระเนื้อมีที่มายังไง แล้วจุดไหนที่ต้องระวังเป็นพิเศษ?

0

กระเนื้อที่รู้จักกันไม่ใช่อยู่แค่บนใบหน้า แต่สามารถเกิดได้ตามร่างกาย มีลักษณะเป็นวงเล็กๆ สีนํ้าตาลอ่อนไปยันสีเข้ม ยกเว้นฝ่ามือและฝ่าเท้า ทำให้เกิดความไม่สวยงามดูขรุขระและแตกต่างจากผิวของเรา วิธีการสังเกตคือ การเกิดกระมักจะเกิดอยู่ในพื้นที่กระจุกเดียวกันมากกว่า อาจมีอาการคัน ระคายเคืองร่วมด้วย

สาเหตุการเกิดกระเนื้อ มีหลายปัจจัย ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป แต่จะพบในผู้ที่สูงอายุมากกว่ากลุ่มอื่น , พันธุกรรม หรือโรคผิวหนัง ที่อาจเป็นสัญญาณเสี่ยงต่อโรคมะเร็งผิวหนัง, แสงแดด ทั้งกลุ่มคนอายุน้อย และอายุมากกว่า หากอยู่ในแสงแดดจัดเป็นเวลานาน สามารถเกิดกระเนื้อได้

seborrheic-keratosis

ทำยังไงเมื่อเกิดกระ?

  • ไม่ถู หรือพยายามแกะ เพราะเมื่อเป็นแผลแล้ว อาจทำให้แผลบนกระเนื้อเกิดการอักเสบ และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
  • หากกระเนื้อมีการขยายตัว หรือใหญ่ขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนัง

ถึงแม้ว่ากระเนื้อจะเป็นอาการที่หากไม่ใช่สาเหตุจากโรคผิวหนังหรือติดเชื้อ ถือว่าไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง และไม่จำเป็นต้องรักษา แต่เป็นอาการผิดปกติของผิวหนังที่ส่งผลให้รำคาญใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น หากบริเวณที่เกิดกระเนื้อเสียดสีอาจทำให้เลือดออก หรือระคายเคือง แต่หากเพื่อความสวยงามหรือลดอาการระคายเคืองสามารถตรวจได้โดยส่องกล้องตรวจผิวหนัง หรือเก็บเนื้อเยื่อไปตรวจ

การรักษาทำได้อย่างไรบ้าง?

  1. ขูดกระเนื้อ ที่เป็นเนื้อเยื่อออก ให้กระดูเรียบ
  2. เลเซอร์กระให้ดูเบาบางลง
  3. การผ่าตัดหรือจี้เย็น
  4. จี้ไฟฟ้า และ จี้ด้วยสารเคมี

วิธีป้องกัน “กระ”

หากใครที่กังวลงว่าจะเป็นกระเนื้อ ถึงแม้จะเป็นอาการที่เลี่ยงไม่ให้เกิดได้ยาก แต่สามารถป้องกันได้ด้วยตัวเองคือ งดการอยู่ในแสงแดดจัดเป็นเวลานานในช่วงเวลากลางวัน และปกป้องผิวหน้ากับผิวกายด้วยครีมกันแดดที่มี SPF สูงๆ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *