อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังที่เกิดขึ้นจากการนั่งทำงานเป็นเวลาเวลาติดต่อกันนานๆ ส่วนมากเกิดจากการที่เราใช้กล้ามเนื้อหนักเกินไป ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ และไม่ได้รับการดูแลรักษาหรือป้องกันอย่างตรงจุด
เมื่อเราใช้กล้ามเนื้อต่อเนื่องนานๆจนเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อชั้นในเรียกว่า Trigger Point เป็นผลมาจากการที่เลือดไปเลี่ยงกล้ามเนื้อส่วนนั้นไม่ได้ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการปวดเมื่อยที่รุนแรงและยาวนานมากขึ้น เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานๆ ไม่เพียงแต่จะทำให้เรารู้สึกปวดมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียต่อกายภาพภายนอก ทำให้รูปร่างของเราเปลี่ยนไป เช่น ตัวงอ คอตก หรือไหล่ไม่เท่ากัน และทำให้รู้สึกศีรษะบ่อยๆอีกด้วย
โดยทั่วไปแล้วอาการปวดศีรษะกว่า 80% เป็นผลมาจากกล้ามเนื้อทั้งนั้น การปวดศีรษะมักเกิดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองถูกกดทับไว้ เราสามารถแยกการปวดศีรษะที่เกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ 1.ปวดบริเวณหน้าผาก 2.ปวดบริเวณกระบอกตาเนื่องจากกล้ามเนื้อกดทับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณจอประสาทตา 3.ปวดบริเวณขมับหรือเรียกว่าเป็นไมเกรน (migraine) หรือปวดศีรษะข้างเดียว
นอกจากนี้อาการปวดที่มีสาเหตุมาจากการทำงานที่พบบ่อยๆ คือ อาการเวียนศีรษะจากการจ้องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน อาการปวดแขนและอาจไม่มีแรงจากการใช้เมาส์นานๆ หรือใช้เมาส์ที่มีขนาดไม่เหมาะสม ส่วนอาการปวดช่วงล่างมากจนลงมาถึงขาเกิดจากการนั่งเก้าอี้ไม่เต็มก้นหรืออาการปวดกล้ามสะโพกจากท่านั่งที่ไม่สมดุลเป็นเวลานาน
ผศ.นพ.วิศาล คันธารัตนกุล หัวหน้าศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ บอกว่าคนทำงานสมัยนี้มีความเสี่ยงต่อโรคเจ็บปวดจากการทำงานได้ง่าย โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานที่มักจะจะอยู่ในท่านั่งทำงานท่าเดียวซ้ำๆ ตลอดทั้งวัน จนทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเรื้อรัง และท้ายที่สุดความเจ็บปวดนี้จะรบกวนคุณภาพชีวิต เกิดอาการนอนไม่หลับ ผลที่ตามมาคือการเข้าใจผิดคิดว่าป่วยเป็นโรคอื่นๆ
หากมีอาการปวดเกิดขึ้นก็ต้องรีบตัดวงจรความเจ็บปวดให้เร็วที่สุด โดยเริ่มจากการหาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดจากการนั่งทำงานในท่าเดียวนานๆ เพราะฉะนั้นควรหมั่นยืดและเหยียดกล้ามเนื้อในระหว่างทำงานไปด้วย ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยผ่อนคลายให้กล้ามเนื้อได้มีการเคลื่อนไหวหรือเส้นเอ็นได้ยืดตัวบ้าง
การให้ความสำคัญกับการยืดกล้ามเนื้อคอ โดยเอียงว้าย เอียงขวา ก้มและเงยหน้า ระหว่างนั่งทำงานบ้างและหันมาออกกำลังกายในช่วงเช้าหรือตอนเย็น จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อได้ อีกทั้งการปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวันถือเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงจากอาการปวดตามร่างหายได้เช่นกัน เช่น ทุกๆวันการทำงาน คุณต้องพักสายตาจากการทำงานบ้าง พยายามให้ร่างกายได้ขยับบ้างหลังจากการทำงานท่าซื้อเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง สำหรับคนทำงานที่ต้องนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ สามารถทำท่ากายบริหารง่ายๆในระหว่างการทำงาน ซึ่งเป็นการนวดหรือเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆด้วยตนเอง โดนอาจทำก่อนรับประทานอาหารกลางวันและก่อนเลิกงาน วันละ 2 ท่าสลับสับเปลี่ยนไปในแต่ละวันเพื่อตัดวงจรการปวดกล้ามเนื้อเสียแต่เนิ่นๆ ไม่ให้กลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง
นอกจากนี้คุณควรให้ความสำคัญกับการปรับ Work space คือใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการทำงาน เช่น ใช้โต๊ะและเก้าอี้นั่งที่ได้มาตรฐาน และควรนั่งให้เต็มเก้าอี้ เมื่อเกิดอาการเจ็บหรือปวดกล้ามเนื้ออย่าปล่อยทิ้งไว้นาน ต้องรีบรักษาให้ถูกวิธีก่อนอาการปวดกล้ามเนื้อจะลุกลามใหญ่โตจนถึงกับบั่นทอนคุณภาพชีวิตในระยาวของคุณ