ยา-สารเคมีที่แม่ท้องควรเลี่ยง ถ้าไม่อยากให้เบบี๋เสี่ยงผิดปกติ

0

แม้ว่าทารกในครรภ์จะได้รับการปกป้องเป็นอย่างดีภายในมดลูกของมารดา แต่ถ้าได้รับสารพิษในช่วงที่ตัวอ่อน กำลังเจริญเติบโตและมีพัฒนาการ ก็จะก่อให้เกิดความผิดปกติหรือการผิดรูปแต่กำเนิดได้ ซึ่งสารเคมีและยาบางชนิด อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ นำไปสู่ภาวะผิดปกติของเบบี๋ได้

1. นิโคติน (nicotine) สารนิโคตินในบุหรี่ทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกน้อยลง ทารกในครรภ์ได้ออกซิเจนและสารอาหารลดลง เซลล์ที่กำลังเจริญถูกทำลายเกิดภาวะขาดออกซิเจน เกิดภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ มีขนาดตัวเล็กกว่าปกติ แท้ง คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักน้อยกว่าปกติ ปากแหว่งเพดานโหว่ เสียชีวิตระยะแรกเกิด เมื่อทารกเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะมีอัตราการเกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพองสูงกว่าทารกที่เกิดจากแม่ที่ไม่สูบบุหรี่

2. แอลกอฮอล์ (alcohol) สามารถผ่านทางรกทำอันตรายต่อพัฒนาการของตัวอ่อนได้ ทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง จะมีภาวะ fetal alcohol syndrome ทำให้เกิด CNS deficits ศีรษะเล็กผิดปกติ หน้าบิดเบี้ยว ปัญญาอ่อน แท้ง และคลอดก่อนกำหนด

3. คาเฟอีน (caffeine) ได้แก่ กาแฟ ชา น้ำอัดลม สารคาเฟอีนสามารถ่ายผ่านรกเข้าสู่ทารกในครรภ์ได้ ในหนึ่งวันไม่ควรดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีนมากกว่า 200-300 มิลลิกรัมขึ้นไป และดื่มต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์ อาจจะเสี่ยงทำให้แท้งบุตรได้

4. ยาคุมกำเนิด การได้รับยาคุมกำเนิดที่มี progestogen และ estrogen ขณะตั้งครรภ์ในช่วงวิกฤติของการเติบโตจะแสดงอาการ VACTERL syndrome ซึ่งอาจเกิดความผิดปกติของกระดูกสันหลัง ทวารหนัก หัวใจ หลอดอาหาร หลอดลม ไต และแขนขาได้

5. Androgenic agents ฮอร์โมนเพศชายมีผลกระทบต่อทารก ทำให้มีลักษณะของเพศชายในทารกเพศหญิงได้

6. ยาต้านมะเร็ง (antineoplastic agents) เพราะจะยับยั้งการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วของเซลล์ ตัวอ่อนอาจเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือให้กำเนิดทารกที่มีความผิดปกติหลายอย่างโดยเฉพาะกระดูก กะโหลกศีรษะ แขน ขา และกระดูกสันหลัง

7. ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) ได้แก่ คูมาริน (coumarin), วาร์ฟาริน (warfarin) สามารถผ่านรกได้ ทำให้เกิดภาวะตกเลือดของทารกในครรภ์ และเกิดความผิดปกติได้หลายอย่าง เช่น ศีรษะเล็ก ปัญญาอ่อน เป็นต้น

8. ยารักษาโรคลมชัก (anticonvulsants) ได้แก่ ยาเฟนิโทอิน (Phenytoin) หรือ ยาไดแลนติน (dilantin) ทารกจะเกิดกลุ่มอาการ fetal hydantoin syndrome ปัญญาอ่อน ปากแหว่ง เจริญเติบโตช้าในครรภ์ เป็นต้น

9. ยารักษาไทรอยด์ (thyroid drugs) ไอโอดีนสามารถผ่านรกได้ ไปขัดขวางการสร้าง thyroid hormone ทำให้เกิดภาวะ hypothyroidism ทำให้ไทรอยด์บวมโตเกิดภาวะ fetal goiter ถ้ามีขนาดใหญ่อาจกดการหายใจของทารกได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เกิด cretinism (แคระ ปัญญาอ่อน) และ dystrophy ของกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน

10. ยากล่อมประสาท (tranquilizers) ยาทาลิโดไมด์ thalidomide ทำให้เกิดความผิดปกติที่รุนแรง เนื่องจากจะทำให้ทารกเกิด thalidomide syndrome เช่น แขนขากุด ความผิดปกติของหัวใจ หูชั้นนอก และระบบทางเดินอาหาร

11. ยาปฏิชีวนะ (antibiotics) ยาที่เป็นเทอราโตเจน ได้แก่ tetracyclines สามารถผ่านรกไปเกาะที่กระดูกและฟันของตัวอ่อนในบริเวณที่มี active calcification ดังนั้น ถ้าได้รับยานี้ในไตรมาสที่ 2 และ3 อาจเกิด tooth defects ฟันมีสีเหลืองจนถึงน้ำตาล และยับยั้งการเจริญของ long bones

12. ยาและสารเสพติด จำพวกโคเคน, เฮโรอีน และแอมเฟตามีน อาจทำให้เกิดการแท้ง ตายคลอด รกลอกตัวก่อนกำหนด คลอดก่อนกำหนด แขนขาผิดปกติ มี intracranial hemorrhage IUGR

เพราะความไม่รู้ อาจทำให้เบบี๋ในท้องเสี่ยงอันตรายได้ ดังนั้น ก่อนใช้ยาทุกครั้ง คุณแม่ท้องต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรอย่างรอบคอบ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *