จากการศึกษาให้หัวข้อเรื่อง “ผลของการออกกำลังกายและการออกกำลังกายต่อความวิตกกังวล” (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23630504/) แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายหลายอย่างเลยทีเดียว เช่น
- สร้างความเปลี่ยนแปลงในส่วนต่างๆ ของสมองที่ควบคุมความเครียดและความวิตกกังวล นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มความไวของสมองสำหรับฮอร์โมน serotonin และ norepinephrine ซึ่งช่วยลดความรู้สึกหดหู่ได้
- การออกกำลังกายยังช่วยเพิ่มการผลิตเอ็นดอร์ฟิน ซึ่งทราบกันดีอยู่แล้วว่าช่วยสร้างความรู้สึกในเชิงบวกและลดการรับรู้ถึงความเจ็บปวด
- ลดอาการในผู้ที่ทุกข์ทรมานจากความวิตกกังวล นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้พวกเขาตระหนักถึงสภาพจิตใจของตนเองและฝึกเบี่ยงเบนความสนใจจากความกลัว
นอกจากนี้ในการศึกษา “อิทธิพลของความเข้มข้นในการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาอารมณ์ซึมเศร้าในภาวะซึมเศร้า: การศึกษาการตอบสนองต่อปริมาณยา” (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27423168/) พบว่า การออกกำลังกายทุกระดับความเข้มข้นช่วยลดความรู้สึกซึมเศร้าได้อย่างมาก
และยังมีการศึกษา “ผลของการเลิกออกกำลังกายต่ออารมณ์และการตอบสนองของไซโตไคน์ที่อักเสบในมนุษย์” **ไซโตไคน์ (Cytokines) เป็นสารที่สร้างและหลั่งโดยเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน มีส่วนเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันและเกี่ยวกับการเกิดการอักเสบ พบว่า ผู้หญิง ผู้ชาย ที่ปกติออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่เมื่อหยุดออกกำลังกายไป 2 สัปดาห์ พวกเขามีอารมณ์ด้านลบเพิ่มขึ้น (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21438778/)
เรียกได้ว่า หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังประสบปัญหาด้านอารมณ์ลองเลือกแนวทางการออกกำลังกายที่ลงตัวกับตัวคุณมากที่สุด แล้วเพิ่มเข้าไปในกิจวัตรประจำวันของตัวเอง งานนี้คุณจะได้ทั้งสุขภาพกาย รูปร่างที่ดีและสุขภาพใจที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย