ไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าเราจะ “ร้องไห้” เพราะดูหนังแล้วเศร้า ละครที่มีฉากสะเทือนใจ รวมไปถึงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจทำให้เรารู้สึกแย่จนเศร้าใจ หรือเรื่องดีๆ ที่ทำให้เราดีใจจนมีน้ำตาแห่งความปิติยินดี หรือพูดถึงจุดที่อ่อนไหวกว่านั้น มันก็มีความเป็นไปได้ว่า บางคนแค่ฟังเพลงหรือเห็นสิ่งของบางอย่าง ก็อาจทำให้ร้องไห้ได้ แต่ในบางกรณี กลับพบว่าตัวเองร้องไห้บ่อยจนผิดปกติ แบบนี้เพราะอะไร? มาลองหาคำตอบกันดูครับ
แบบไหนถึงเรียกว่า ร้องไห้บ่อยผิดปกติ?
จริงๆ แล้วไม่มีการกำหนดว่า อะไรคือตัววัดว่า ร้องไห้มากเกินไป แต่มีตัวอย่างที่น่าสนใจจากการศึกษาในปี 1980 (อ้างอิง) พบว่า ผู้หญิงร้องไห้เฉลี่ย 5.3 ครั้งต่อเดือนและผู้ชายร้องไห้เฉลี่ย 1.3 ครั้งต่อเดือน แต่ในการศึกษาใหม่กว่านั้นพบว่า ระยะเวลาเฉลี่ยสำหรับการร้องไห้ต่อครั้งคือ ราวๆ 8 นาที (อ้างอิง)
สาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้เราอาจร้องไห้มากกว่าปกติ
การร้องไห้มักเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล หลายคนมักจะพบกับ 2 เงื่อนไขในเวลาเดียวกัน เงื่อนไขทางระบบประสาทบางอย่างอาจทำให้เพื่อนๆ ร้องไห้หรือหัวเราะอย่างควบคุมไม่ได้
- อาการซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่มีความเศร้าอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 2-3 สัปดาห์ (ตรวจสอบตัวเองเกี่ยวกับอาการนี้เพิ่มเติมได้ที่: สำรวจคนใกล้ตัวด้วย 9 สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า หรือ Infographic: ภาวะซึมเศร้ากับเรื่องเราอยากให้รู้)
- วิตกกังวล แต่ด้วยความผิดปกติของความวิตกกังวล เพื่อนๆ จะรู้สึกกังวลใจบ่อยขึ้นหรืออาจเป็นประจำทุกวัน อาการรวมไปถึงการร้องไห้ด้วยเช่นเดียวกัน
- โรคซูโดบัลบาร์พัลซี (Pseudobulbar Palsy) อาการผิดปกติของระบบประสาท ไม่สามารถควบคุมการร้องไห้ หัวเราะหรือรู้สึกโกรธได้
หากเพื่อนๆ กำลังกังวลว่า ตัวเองร้องไห้มากเกินไป ถ้าไม่สามารถหยุดร้องไห้หรือเริ่มร้องไห้มากกว่าปกติให้คุยกับแพทย์ เพราะมันอาจเป็นสัญญาณของภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติของอารมณ์อื่นๆ นะครับ