รถชน อุบัติเหตุสร้าง “แผลเป็น” กับ 6 แนวทางรักษา

0

‘แผลเป็น’ คือ ความเจ็บปวดในอดีต ที่ส่งผลมาถึงปัจจุบัน ซึ่งสร้างความไม่มั่นใจให้กับคุณผู้หญิง โดยเฉพาะรอยแผลเป็นที่มีลักษณะปูดนูนปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนอย่างแผลเป็นที่ได้มาจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นรถล้ม โดนเฉี่ยวชนมา หรือล้มเองโดยไม่ตั้งใจ ยิ่งถ้าแผลเป็นนั้นอยู่ในตำแหน่งที่เห็นเด่นชัด ทำให้คุณผู้หญิงเลือกเสื้อผ้าที่ใส่แล้วช่วยปกปิด บางครั้งอยากแต่งตัวเซ็กซี่ก็ทำไม่ได้ นอกจากนี้รอยแผลเป็นยังทำให้เกิดอาการคันอีกด้วย

6 วิธีรักษาแผลเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป

falling-car-accident-created-scar-with-6-treatments

ในปัจจุบัน วิธีการรักษาแผลเป็น สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของแผลเป็น และขนาด แต่อย่างไรก็ตาม การลบรอยแผลเป็น ให้หายหมดจด 100% เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ โดยการรักษาจะช่วยทำให้สภาพแผลเป็นดูดีขึ้น สามารถเห็นได้น้อยลง จนสามารถสวมเสื้อผ้าตามใจได้อีกครั้ง

  1. ใช้ผลิตภัณฑ์ช่วยดูแลรอยแผลเป็น เป็นวิธีที่ง่ายสุด ช่วยทำให้แผลเป็นจางลงได้ และยังช่วยลดอาการคันได้อีกด้วย สำหรับยาที่ใช้ทาลดรอยแผลเป็น เช่น ฮีรูสการ์ ซิลิโคน โปร (Hiruscar Silicone Pro) ผลิตภัณฑ์ดูแลรอยแผลเป็น ใช้ได้กับแผลเป็นที่เกิดจากอุบัติเหตุ แผลเป็นจากการผ่าตัด แผลคีลอยด์ แผลนูน แผลเป็นบนใบหน้า (ดูรีวิวได้ที่ #ใช้ดีบอกต่อ รีวิว: ฮีรูสการ์ ซิลิโคน โปร บรรเทาแผลเป็นจากแผลเย็บ แผลผ่าตัด)
  2. ปิดด้วยแผ่นซิลิโคนเจล สามารถลดการขยายตัวของแผลที่เป็นแผลใหม่ ๆ ได้
  3. ฉีดด้วยยา Steroids จะทำให้แผลเป็นยุบตัวลง ซึ่งจำนวนในการฉีดของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน เพราะขึ้นอยู่กับความมากน้อยที่เป็น
  4. ฉีดสารเติมเต็ม เหมาะสำหรับแผลเป็นที่เป็นรอยยุบ สารฉีดอยู่ได้นาน 6 – 8 เดือน ก็ต้องมาฉีดใหม่
  5. สักสีผิว ด้วยการเลือกสีที่มีความคล้ายสีผิวปกติ แล้วนำมาสักทับแผลเป็น
  6. ใช้เลเซอร์ มี 2 แบบ คือ ช่วยทำให้แผลได้รับการเติมเต็มขึ้น และทำให้รอยแผลเป็นยุบลง

สำหรับการรักษาแผลเป็นในบางวิธี เป็นการรักษาที่ต้องทำเข้าใจวิธีการทำอย่างละเอียดอ่อน จึงต้องทำกับแพทย์ที่เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อให้ผลการรักษาออกมาดีสมใจ  เช่น แผลคีลอยด์ไม่ค่อยใช้วิธีผ่าตัดเพราะสามารถเป็นขึ้นมาใหม่ได้อีก และอาจมีขนาดใหญ่กว่าเดิมได้ ทำให้เลือกใช้วิธีฉีดยาเข้าไปในแผลเป็นแทน ทั้งนี้ถ้าแผลเป็นของเพื่อนๆ เป็นแผลอันเกิดจากรถล้ม ก็สามารถใช้วิธีทายา บรรเทาอาการเบื้องต้นไปก่อนก็ได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *