4 ทริคปราบเจ้าตัวซนให้อยู่นิ่งเป็น

0

นับเป็นปัญหาสำคัญของเหล่าพ่อแม่มือใหม่ สำหรับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของลูกน้อยวัยซน โดยหนึ่งในนั้นก็คือ การที่ลูกน้อยอยู่ไม่สุข เคลื่อนไหวมาก ไม่สามารถอยู่นิ่งได้นาน ซึ่งเกิดขึ้นทั้งที่เป็นธรรมชาติของเด็กในวัยนี้ รวมถึงเกิดในเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา ว่าแล้วมาหาวิธีรับมือกันค่ะ

เด็กซน สมาธิสั้นนั้นจะไม่สามารถทำงานให้เสร็จเป็นชิ้นเป็นอันได้ วอกแวกง่าย อยู่ไม่นิ่ง ชอบลุกเดินบ่อยๆ หรือวิ่งไปรอบๆ ห้อง ชอบพูดโพล่งหรือพูดแทรกคนอื่น ไม่มีความอดทนหรือรอคอยอะไรๆ นานๆ ไม่ได้ เรียกว่าทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจไม่มากก็น้อย

เพื่อการรับมือกับปัญหาเหล่านี้ เรามีวิธีปราบเจ้าตัวซน สรุปความจากหนังสือ ดูแลปัญหาพัฒนาการลูกรักอย่างไรดี โดยสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต มาเป็นไกด์ไลน์ให้เหล่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ค่ะ

%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%8b%e0%b8%99

1.ปรับสิ่งแวดล้อมก่อน

ให้มีสิ่งเร้าในบ้านให้น้อยที่สุด ปราศจากเสียงดัง และไม่ควรพาเด็กไปในที่ที่มีคนพลุกพล่าน หรือปล่อยให้เด็กดูทีวีนานๆ เพราะเด็กจะได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเหล่านี้มากเกินไป พาลจะเสียสมาธิเอาง่ายๆ

2.เพิ่มสมาธิในการทำงาน

หาโต๊ะ เก้าอี้ให้เด็กเพื่อใช้ในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น เล่นของเล่น กินข้าว หรือทำการบ้าน อย่าปล่อยให้เด็กอยู่คนเดียว ควรสอนลูกทำกิจกรรมต่างๆ ก่อน และเพิ่มระยะเวลาในการนั่งทำกิจกรรมไปเรื่อยๆ อาจจะเริ่มจาก 5 นาทีก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาขึ้น ในขณะที่เด็กยังนั่งไม่ได้ตามเวลาที่กำหนดหรือยังทำกิจกรรมไม่เสร็จ ให้พ่อแม่จับมือเด็กไว้เบาๆ บอกให้เด็กนั่งลง เมื่อเด็กทำได้ ให้รางวัลเพื่อเสริมแรง

3.พาเด็กไปปลดปล่อยพลังงาน

เด็กๆ พลังงานในร่างกายที่มีอย่างเหลือเฟือ เช่น ชวนกันปลูกต้นไม้ เล่นที่สนามเด็กเล่น หรือชวนกันวิ่งออกกำลังกาย นอกจากเด็กได้ปล่อยพลังงาน พ่อแม่เองก็มีสุขภาพที่แข็งแรงด้วย

4.สอนระเบียบวินัยให้กับเด็ก

จัดสิ่งแวดล้อมและสิ่งของในบ้านให้เป็นระเบียบ มีตารางการทำกิจกรรมอย่างเป็นเวลา เด็กจะรู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร เมื่อเด็กเล่นของเล่นทุกครั้งให้เก็บเข้าที่ด้วย หรือเสื้อผ้าที่ใส่แล้วควรสอนให้เขาไปใส่ตะกร้า และถอดรองเท้าให้เป็นที่เป็นทาง


ทั้งนี้ เมื่อเด็กเริ่มมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ควรให้สิ่งเสริมแรงทันที เช่น ชมเชย โอบกอด ยิ้มให้ เด็กจะได้คงพฤติกรรมที่พึงประสงค์เอาไว้ และควรให้บ่อยครั้งในระยะแรก เมื่อพฤติกรรมคงที่แล้ว ก็ให้เป็นครั้งคราวค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *