หวังดีปั๊มนมแม่แจกจ่าย ระวังทำเด็กป่วย

0

“นมแม่” ได้ชื่อว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์สูงสุด ประกอบไปด้วยคุณค่าจากน้ำนมแม่ที่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด ไม่แปลกที่มีคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่มีน้ำนมปริมาณมาก เกิดความรู้สึกเสียดาย อยากส่งต่อสารอาหารที่มีคุณค่านี้กับทารกน้อยคนอื่นที่ขาดแคลน

คำถามคือ การแบ่งปันน้ำนมสามารถทำได้หรือไม่?

%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b9%8a%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b8%81

จากกระแสดราม่า ภรรยาของอดีตนักร้องดัง “นาวิน ต้าร์” ผุดโครงการ “นมจากเต้าเราให้ฟรี” แบ่งปันให้เด็กๆ ยากไร้ที่ไม่มีน้ำนม ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าอาจจะไม่ปลอดภัย โดย พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า แม้จะเป็นไปด้วยความตั้งใจดี แต่การแจกจ่ายกันเองเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ถูกต้อง ข้อมูลจาก พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ รองอธิบดีกรมอนามัย ระบุว่า

นมแม่จากการบริจาคมีความจำเป็นสำหรับเด็กคลอดก่อนกำหนดหรือทารกน้ำหนักตัวน้อยผิดปกติ หรือเด็กป่วยโดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องได้รับการผ่าตัดเกี่ยวกับลำไส้ โดยต้องเป็นนมแม่บริจาคที่ได้ผ่านกรรมวิธีตรวจและฆ่าเชื้อโรคแล้วอย่างมีมาตรฐาน ต้องมีระบบธนาคารน้ำนม (milk bank) ซึ่งปัจจุบันในบ้านเรามีธนาคารนมแม่จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารนมแม่ศิริราช และธนาคารนมแม่รามาธิบดี

สำหรับคุณแม่ที่จะบริจาคนม จำเป็นต้องได้รับการซักประวัติ และการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการว่าไม่มีการติดเชื้อ ไม่ใช้ยา หรือ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพน้ำนมที่บริจาค และนมที่ได้รับบริจาคจะต้องถูกตรวจสอบจากธนาคารน้ำนม มีการตรวจคัดกรองเชื้อโรคต่างๆ

ธนาคารน้ำนมจะทำการกำจัดเชื้อโรคในน้ำนมทั้งแบคทีเรียและไวรัส ส่วนสารอาหารในน้ำนมบริจาคจะมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ทำให้เด็กยังได้รับประโยชน์จากคุณค่าสารอาหารแต่ในส่วนของภูมิคุ้มกันมักสลายไปพอสมควร ถ้าเทียบกับภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากนมแม่ของตัวเองโดยตรงโดยไม่ผ่านกระบวนการ

ดังนั้น จึงไม่สนับสนุนการบริจาคนมให้กันเองโดยไม่มีการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อ เพราะอาจมีผลต่อสุขภาพของเด็ก ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากเด็กอาจมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ ฉะนั้น คุณแม่ที่อยากบริจาคน้ำนม แนะนำให้ทำผ่านระบบ “ธนาคารน้ำนม” เพื่อความปลอดภัยสูงสุดแก่ทารกน้อย

ส่วนคุณแม่ที่มีปัญหาเรื่องน้ำนมน้อย หรือมีปัญหาเรื่องการให้นมแม่ สามารถเข้ารับคำปรึกษาได้ที่ คลินิกนมแม่ ที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน หรือสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *