แพทย์เตือนสัมผัสเชื้อ “พิษสุนัขบ้า” ทำความสะอาดเบื้องต้นและพบแพทย์ทันที!

0

จากการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยขณะนี้ นพ.ธนารักษ์ สถาพรวรศักดิ์ แพทย์อายุรศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์วัคซีน โรงพยาบาลพญาไท 2 ให้ข้อปฏิบัติว่า

  1. รีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่พร้อมกับใช้แอลกอฮอล์หรือโพวิโดนไอโอดีนเช็ดแผลทันที
  2. ผู้ถูกกัดควรพบแพทย์ทันที เพื่อพิจารณาการรักษาที่เหมาะสม

%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%a9%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%82%e0%b8%9a%e0%b9%89%e0%b8%b22-1

ต้องฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าแบบไหน?

เมื่อก่อนเราเคยได้ยินว่าต้องฉีดติดต่อกัน 14 วัน การฉีด 14 เข็มรอบสะดือ ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้วเนื่องจาก ทำจากสมองสัตว์ ผลข้างเคียงเยอะกว่า เลิกใช้แล้วแต่ในปัจจุบันฉีดเพียงแค่ 5 เข็มเข้ากล้ามเนื้อ ในระยะเวลา 0/3/7/14/21 หรือ 28 วัน (0=วันที่รับเชื้อ)

วิธีที่ฉีดมี 2 แบบเข้ากล้ามเนื้อ และเข้าผิวหนัง ซึ่งการฉีดแบบเข้ากล้ามเนื้อ และเข้าผิวหนัง สร้างภูมิต้านทานได้ไม่ต่างกัน แต่ต้องฉีดชั้นผิวหนัง (intradermal) ไม่ใช่ใต้ผิว (subcutaneous) ใช้ปริมาณน้อยกว่า ประหยัดกว่า นพ.ธนารักษ์ สถาพรวรศักดิ์ รพ.พญาไท 2 ให้รายละเอียดว่า

“ถ้าบาดแผลถูกกัด ข่วนซึ่งมีเลือดออกชัดเจน เยื่อบุ เช่น ตา ปาก ถูกปนเปื้อนด้วยน้ำลายของสัตว์ ถูกสัตว์เลียบนผิวหนังที่มีบาดแผลสด รับประทานเนื้อของสัตว์ที่เป็นโรคซึ่งปรุงไม่สุก การดื่มนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์จากวัวที่เป็นโรค สัมผัสโรคจากค้างคาว เหล่านี้จะให้การรักษาด้วยวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ร่วมกับ เซรุ่ม (อิมมูโนโกลบุลิน) เนื่องจากวัคซีนต้องใช้เวลาในการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง แต่โรคพิษสุนัขบ้าเป็นแล้วตาย เราจึงรอไม่ได้ จึงจำเป็นต้องได้รับวัคซีน ร่วมกับ อิมมูโนโกลบุลิน (เซรุ่ม)

แต่เนื่องจากเซรุ่มมีราคาค่อนข้างสูง มีความเจ็บปวดค่อนข้างมากในการรับเซรุ่ม แต่ก็ไม่ได้สำคัญเท่ากับความรุนแรงของโรงพิษสุนัขบ้า ซึ่งถ้าได้รับเชื้อแล้ว ไม่มียารักษา จึงแนะนำให้รับวัคซีนป้องกันก่อนการสัมผัสโรค ซึ่งฉีดเพียง 3 เข็ม ได้แก่ 0/1/3 สัปดาห์ จากนั้นถ้าโดนกัดก็รับวัคซีนเพื่อกระตุ้นอีก 2 เข็มในวันรับเชื้อ และ วันที่ 3”

การฉีดป้องกันก่อนโดนกัดนั้น เหมาะสมกับกลุ่มเสี่ยง ซึ่งควรฉีด 3 เข็ม เข้ากล้าม (0//1/3 สัปดาห์) โดยเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า เช่น ผู้ที่ทำงานในห้องปฎิบัติการที่ต้องสัมผัสต่อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าโดยตรง หรือเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวกับการผลิตวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สัตวแพทย์ที่ทำงานในพื้นที่ที่พบโรคพิษสุนัขบ้าได้บ่อย ผู้ที่มีอาชีพเลี้ยงสัตว์ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาในแหล่งที่มีโรคพิษสุนัขบ้าชุกชุมในสัตว์ หรือประชากรที่อาศัยอยู่แหล่งที่มีโอกาสเสี่ยง

ข้อมูลสถิติของ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) บอกว่า…

ผู้ป่วย โรคพิษสุนัขบ้าร้อยละ 99 ติดเชื้อไวรัสเรบีส์จากสัตว์เลี้ยงในบ้านของตน มีผู้ป่วยด้วยโรค พิษสุนัขบ้าเสียชีวิตถึง 59,000 รายต่อปี

ดังนั้น เมื่อโดนสุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ เช่น กระต่าย หนูบ้าน หนูแฮมสเตอร์ กระรอก กระแต ฯลฯ กัด ข่วน หรือถูกน้ำลายสัตว์เข้าตา จมูก ปาก หรือเลียส่วนทีมีบาดแผลเปิด ช่วงนี้อย่านิ่งนอนใจรีบพบแพทย์และป้องกันให้ทันท่วงทีก่อนป่วย

เข้ารับคำปรึกษาและรับการรักษาได้ทันท่วงทีที่ call center 1772

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *