สำหรับคนที่ชอบเก็บนั่นนี่มาคิดอยู่ตลอดเวลาจนเครียด รู้ไหมว่ามันอาจเลยเถิดนำไปสู่การเป็นโรคทางจิตที่เรียกว่า “โรควิตกจริต” สามารถส่งผลเสียให้กับสุขภาพร่างกายร่วมด้วย ดังนั้นดีที่สุดเรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันหน่อยดีไหม เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้เกิดกับตัวเราเองและบุคคลใกล้ชิด
โรคแพนิค เป็นยังไงนะ?
หรือ Panic Disorder เป็นความกลัวหรือความตื่นตระหนกที่เกิดขึ้นอย่างทันที ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของโรคทางจิตเวช โดยโรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มวิตกกังวล (Anxiety) ชนิดหนึ่ง
จู่ๆ ก็เวียนหัว ใจสั่น คลื่นไส้… น่าสงสัย
ผู้ที่เป็นจะมีอาการควบคุมตัวเองไม่ได้ คล้ายจะเป็นลม หน้ามืด เวียนหัว คลื่นไส้ หรือแขนขารู้สึกเปลี้ย ไม่มีเรี่ยวแรง บางทีอาจมีอาการใจสั่นร่วมด้วย ซึ่งตัวเองจะรู้สึกเลยว่าร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งมวลท้อง หายใจผิดปกติ จิตตก และร่างกายร้อนวูบวาบ กลัวตัวเองจะเป็นโรคร้ายแรง หรือกำลังจะตาย เป็นต้น ซึ่งอาการต่างๆเหล่านี้มักเกิดขึ้นทันที และค่อยๆรุนแรงขึ้นจนประมาณ 10 นาที แล้วค่อยๆทุเลาลง จนเกือบหายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง
สาเหตุของโรคแพนิค
- กรรมพันธุ์
- เกิดฮอร์โมนลดกะทันหัน ทำให้สารสื่อในสมองผิดปกติ คล้ายกับกระแสไฟฟ้าลัดวงจร จนทำให้ประสาททำงานผิดพลาด สมองหลั่งสารตื่นตระหนกออกมาเอง
- เกิดสารบางอย่างทีเข้าไปกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดอาการแพนิคได้มากกว่าคนทั่วไป
- มีความเครียดสะสมมากเกินไป มักใช้ชีวิตแบบผิดๆ
- มีปัญหาทาด้านจิตใจ หรือเคยถูกทำร้ายทางด้านจิตใจมาก่อน อาจตกใจง่าย หวาดระแวง ไม่ค่อยปล่อยวาง หรือมีปมด้อย
- มีเรื่องปัญหาครอบครัว
ถ้าเป็น “โรคแพนิค” อะไรคือสิ่งที่เราต้องทำ
สิ่งแรกที่ควรทำมากๆคือ ไม่เครียด และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตัวเองเกิดความเครียดหรือความวิตกกังวล อาจใช้ธรรมมะหรือ นั่งสมาธิ ปล่อยวางจิตใจ ออกกำลังกาย หรือหากิจกรรมที่ทำร่วมกับคนอื่น นอกจากนี้สิ่งที่ป้องกันโรคนี้ได้ดีที่สุดก็คือ การหัวเราะ ทั้งเป็นการป้องกันโรคนี้ และป้องกันโรคอื่นๆได้อีกด้วย
ในสำหรับกรณีที่พบแพทย์และได้รับการรักษาด้วยยา ยาจะช่วยให้สามารถปรับสมดุลสารเคมีในสมองได้เร็วขึ้น ยาจึงช่วยในการรักษาได้ 70 ถึง 80 เปอร์เซนต์ ภายหลังเริ่มการรักษาแล้ว 6-8 สัปดาห์ เลยทีเดียว
หากไม่อยากเป็นโรคนี้ก็ดูแลตัวเองอย่าให้เกิดความเครียดดีที่สุด