เช็คให้ชัวร์ก่อนหม่ำ… ระวัง “ทุเรียนชุบสารเคมี”

0

ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี เรียกว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของเหล่าคนรักทุเรียนก็คงจะไม่ผิดนัก เพราะมีทุเรียนออกผลให้หม่ำกันจุใจ แต่ล่าสุดกลับมีข่าวที่ทำให้ทุเรียนเลิฟเวอร์ตกอกตกใจ หลังมีการแชร์คลิป “ทุเรียนชุบสารเคมี” ในโลกออนไลน์ ส่วนสารที่ว่าคืออะไรและอันตรายแค่ไหนกันนะ?

%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%8a%e0%b8%b8%e0%b8%9a%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a1%e0%b8%b5-1

โดยเมื่อไม่นานนี้มีการแชร์คลิป “ทุเรียนชุบสารเคมี” ผ่านทางสังคมออนไลน์ โดยรายละเอียดในคลิปวิดีโอ เป็นภาพคนงานหลายคนค่อยๆ นำทุเรียนแต่ละลูกลงไปชุบสารสีเหลืองบางอย่างในถัง พร้อมแชร์เตือนภัยคนที่ชอบกินทุเรียนให้ระวังถึงอันตรายดังกล่าว

แท้จริงแล้วภาพที่เห็นในคลิปคลิปเป็นการชุบน้ำขมิ้นให้สีเหลืองสวย และป้องกันเชื้อรา ใช้สำหรับการส่งออกไม่ได้ขายในประเทศไทย ส่วนสารที่ใช้ป้ายทุเรียนเพื่อเร่งสุกนั้น เป็นสารเอทีฟอน ไม่ได้อันตราย หากใช้ตามปริมาณกำหนด

สาเหตุที่ชุบน้ำขมิ้น เพื่อต้องการให้ผิวทุเรียนเป็นสีเหลืองสวยงามเวลาส่งออกไปประเทศจีน นอกจากนี้บริเวณรอยตัดตรงขั้วจะป้ายขมิ้นด้วยเช่นกัน เพื่อให้แผลแห้งและลดการติดเชื้อโรค

%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%8a%e0%b8%b8%e0%b8%9a%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a1%e0%b8%b5-2

ส่วนการชุบสารเอทีฟอนก็เพื่อให้ทุเรียนสุกพร้อมกันในเวลาเดียวกัน มักจะใช้กับการส่งออก โดย เอทีฟอน (ethephon) (2-chloroethyl phosphonic acid) เป็นสารที่ปลดปล่อยก๊าซเอทิลีนออกมา และไม่มีอันตราย เนื่องจากเป็นแก๊ส สักพักพอกระตุ้นให้ทุเรียนสุกตัวแก๊สก็จะระเหยไป ทั้งนี้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)(มกษ. 9002-2551) และโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (codex) กำหนดปริมาณสารเอทีฟอนตกค้างสูงสุดในทุเรียนไว้ไม่เกิน 2 มก./กก. (FAO/WHO, 2010)

ดังนั้นการบ่มผลทุเรียนด้วยสารละลายเอทีฟอนจึงมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่เนื่องจากการบ่มโดยการชุบผลซึ่งมีสารตกค้างที่เปลือกมาก การปอกเปลือกจึงไม่ควรให้มีดที่กรีดเปลือกสัมผัสกับส่วนเนื้อผลเพราะอาจทำให้เนื้อทุเรียนปนเปื้อนสารตกค้างจากเปลือกได้ สำหรับรสชาติของทุเรียนปกติ กับ ชุบขมิ้น หรือ ชุบสารเคมี รสชาติจะไม่แตกต่างกัน เพราะการเร่งทำให้สุกเหมือนการสุกตามปกติ เพียงแต่ทำให้สุกเร็วขึ้นเท่านั้น

%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%8a%e0%b8%b8%e0%b8%9a%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a1%e0%b8%b5-3

งานนี้สาวกทุเรียนชาวไทยสบายใจได้ค่ะ เพราะทุเรียนที่ขายในเมืองไทยไม่ได้ชุบขมิ้นขาย เนื่องจากเป็นการเพิ่มต้นทุน อย่างไรก็ตาม ควรหม่ำทุเรียนในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อสุขภาพที่ดีค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *