การเรียนรู้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆรอบตัวของหนูน้อย ไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องรูปร่าง รูปทรง ขนาด และระยะทางเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการ เรื่องของทิศทาง ซ้าย-ขวา หน้า-หลัง และตำแหน่ง บน-ล่าง อีกด้วย
เราเรียกการเชื่อมโยงความสัมพันธ์นี้ว่า “มิติสัมพันธ์” ซึ่งเป็นความฉลาดและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อีกด้วยค่ะ
การเรียนรู้ผ่านการเล่น
เล่นจากของจริง
เปิดโอกาสให้ลูกสังเกต เรียนรู้ และสัมผัสสิ่งต่างๆ รอบตัวที่มีลักษะแตกต่างกันไป ทั้งด้านรูปร่าง รูปทรง ขนาด น้ำหนัก จำนวน ตำแหน่ง ฯลฯ
ฝึกแยกแยะและเปรียบเทียบ
ระหว่างเล่นอาจจะถามชี้นำให้ลูกสังเกตความแตกต่างของของเล่น เช่น “ ลูกอยากได้บอลลูกไหนจ้ะ เล็กหรือใหญ่ ลูกซ้ายหรือขวา ลูกที่อยู่ในกล่องหรือนอกกล่อง เป็นต้น
เล่นบล็อกหรือตัวต่อ
ช่วยฝึกเรื่องรูปร่างรูปทรง การเคลื่อนย้าย การจัดเรียง และตำแหน่งต่างๆ
ปั้นแป้งหรือดินเหนียว
การปั้นทำให้ลูกน้อยเรียนรู้ว่า วัสดุใดๆ อาจเปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดได้หลากหลาย
ต่อจิ๊กซอว์
สำหรับเด็กวัยนี้ อาจเริ่มจากการต่อภาพ 2 ชิ้น แล้วค่อยๆ เพิ่มจำนวนไปเป็น 4 ชิ้น
เกมป้ายสัญลักษณ์
คุณแม่อาจหาป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ß ซ้าย , ขวาà, บนá, âล่าง , หยุดI โดยฝึกลูกให้ดูสัญลักษณ์แล้วปฏิบัติตาม เมื่อลูกคุ้นชินก็อาจเปลี่ยนเป็นเกมหาของที่ซ่อนไว้ตามสัญลักษณ์ก็ได้ค่ะ
สติ๊กเกอร์นิทาน
ลูกวัยนี้อาจจะยังวาดรูปไม่ได้แต่ก็สามารถใช้สติ๊กเกอร์ตัวการ์ตูนต่างๆ แปะลงในสมุดภาพเพื่อบอกตำแหน่งต่างๆ ที่เขาต้องการแทนได้ค่ะ
นอกเหนือจากการเล่นแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถสอนลูกรู้จักแยกแยะสิ่งต่างๆ ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้โดยการพูดคุยกับลูกซ้ำๆ บ่อยๆค่ะ เช่น ใช้มือขวาจับช้อน มือซ้ายจับส้อม, สวมรองเท้าข้างซ้าย แล้วสวมข้างขวา, บอกให้ลูกไปหยิบหรือวางสิ่งของตามตำแหน่งต่างๆ ด้วยตัวเอง เป็นต้น
แค่นี้ก็มีกิจกรรมสนุกๆ ไว้เล่นกับลูกน้อย เพื่อฝึกให้ลูกรู้ทิศทางแล้วใช่ไหมค่ะ