เด็กเล็กบางคนอาจจพูดช้าบ้าง ไม่ค่อยพูดบ้าง บางคนพูดตะกุกตะกักจนเหมือนคนติดอ่างแต่เมื่อถึงช่วงที่พัฒนาการเข้าที่เข้าทาง หรือได้รับการกระตุ้นและช่วยเหลืออย่างถูกวิธีจากคุณพ่อคุณแม่ก็กลับมาเป็นเด็กที่มีพัฒนาการทางการพูดได่อย่างปกติ แต่หากในบางรายมีอาการ ดังต่อไปนี้ ชักช้าไม่ได้แล้วนะคะ คุณพ่อคุณแม่ต้องควรพบนักอัตถะบำบัด* โดยเร็วเลยค่ะ!
- มีอาการกล้ามเนื้อสั่นตรงบริเวณปากและขากรรไกร
- เสียงแหลมและดังขึ้นระหว่างติดอ่าง
- พยายามดิ้นรนและมีอาการเครียดระหว่างพูด
- มีกลไกแสดงอาการฟาดฟันสู้ประกอบการพูด เช่น กรอกตา กะพริบตา ผงกหัว
- กลัวและไม่มีความสุขเวลาต้องพูดจา
- เลี่ยงการพูดคำใดคำหนึ่งเป็นพิเศษ หรือเลี่ยงการพูดไปเลย ไม่ยอมอ้าปาก
นักอัตถะบำบัด หรือ นักแก้ไขการพูด (Speech-Language Pathologist)
ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวินิจฉัย การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางภาษาและการพูด เช่น พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ ปากแหว่งเพดานโหว่ ประสาทหูพิการ มีความบกพร่องด้านสติปัญญา ผู้ป่วยที่ถูกตัดกล่องเสียง ผู้ป่วยสมองพิการ
บทบาทของนักแก้ไขการพูดในทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟู คือ…
- ประเมินสภาพความผิดปกติ ทดสอบความสามารถทางภาษาและการพูดรวมถึงการกลืน
- แยกประเภทความผิดปกติ และให้การบำบัดรักษาแก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพ ครอบคลุมทุกประเภทของความผิดปกติทางภาษาและการพูด
- ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ปกครอง ญาติ ผู้ดูแล หรือผู้เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความผิดปกติของผู้ป่วยและเรียนรู้วิธีการรักษาที่ถูกต้อง
- คัดเลือกและประยุกต์ ใช้เครื่องช่วย อุปกรณ์เสริมวัสดุ เพื่อทดแทนให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย
- เผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความผิดปกติทางภาษาและการพูด